การส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร

Authors

  • ประกาย หร่ายลอย
  • สมหมาย แจ่มกระจ่าง

Keywords:

คุณภาพชีวิต, คนงานก่อสร้าง, กรุงเทพฯ

Abstract

บทคัดย่อ         งานวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาประสบการณ์และคุณภาพชีวิตขงประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างในเขตกรุงเทพมหานคร และเพื่อศึกษาแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตประชากรแฝง ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) โดยศึกษากับ ประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง จำนวน 24 คน ผู้มีประสบการณ์ในการทำงานเกี่ยวกับการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรแฝง จำนวน 5 คน และ ผู้เชี่ยวชาญในการพัฒนาคุณภาพชีวิตประชากรแฝง จำนวน 19 คน โดยใช้การสัมภาษณ์ การสังเกต และเทคนิคการวิจัยอนาคต EDFR        ผลการวิจัยพบว่า       1. คุณภาพชีวิตของประชากรแฝง ส่วนใหญ่มีภูมิลำเนาภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีเหตุผลในการย้ายถิ่น คือ การขาดทุนในการประกอบอาชีพเกษตรกรรม ส่วนใหญ่พึงพอใจต่อสุขภาพของตนเอง มีปัญหาด้านสุขภาพบ้างตาไม่บ่อยนัก บางส่วนมีโรคประจำตัวที่ต้องได้รับการรักษาเป็นประจำ สภาพในการดำเนินชีวิตและการทำงาน บางส่วนมีความรักและผูกพันกับที่ทำงาน แม้ว่าจะทำงานหนักแต่ก็รักในอาชีพก่อสร้าง และเห็นว่าอาชีพก่อสร้างสามารถสร้างรายได้ให้แก่ตนเองและครอบครัว ส่วนหนึ่งมีความผูกพันกับนายจ้าง ในขณะที่บางส่วนมีหัวหน้าที่เข้มงวด ใช้งานหนัก และถูกเอาเปรียบ ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงงงาน มีความเข้าใจกันดี ทำงานโดยไม่มีความเครียด แต่บางส่วนมีสภาพการทำงานที่ย่ำแย่ ความสัมพันธ์ในครอบครัวและเพื่อนร่วมงานข่อนค้างดี มีเพียงจำนวนหนึ่งที่เคยทะเลาะกันบ้าง สาเหตุส่วนใหญ่เป็นเรื่องการดื่มสุรา เยล่นการพนัน และการยืมเงิน สภาพที่อยู่อาศัยและภพแวดล้อม มีทั้งผู้ที่มีความพึงพอใจและผู้ที่ต้องการปรับปรุง ส่วนใหญ่พอใจกับสิ่งอำนวยความสะดวก เช่น น้ำดื่ม น้ำประปา ไฟฟ้า ที่พักผ่อนหย่อนใจ และที่ออกกำลังกาย       2. แนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิตของประชาการแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง ในระยะแรกเริ่มจากระดับมหภาคใน 4 ด้าน ได้แก่ 1)ด้านกฎหมายแรงงาน รัฐบาลควรเร่งแก้ปัญหาเรื่องยาเสพติดโดยด่วน 2) ด้านการบริหารจัดการคุณภาพชีวิต ควรจัดงบประมาณให้          กรุงเทพมหานครสามารถบริหารจัดการเกี่ยวกับประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างได้โดยตรงและมีการกำหนดชั่วโมงการทำงานที่เหมาะสม 3) ด้านการศึกษา ควรเพิ่มความก้าวน้าในอาชีพการงาน เพื่อให้กลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างได้มีโอกาสพัฒนาตนเอง และเพิ่มสถานที่ฝึกอบรมให้ดับประชากรแฝงกลุ่มผู้ใช้แรงงานก่อสร้างเพื่อได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง และ 4) ด้านสังคมและสภาพแวดล้อม รัฐบาลควรสร้างความเข้าใจให้แก่แรงงานก่อสร้างเพื่อให้แรงงานได้ตระหนักถึงคุณค่าของตนเองที่มีต่อสังคม                ในระดับปัจเจกบุคคลแบ่งเป็น 2 ด้านที่เป็นแนวทางการส่งเสริมคุณภาพชีวิต ได้แก่ 1) ด้านสุขภาพร่างกาย ควรให้แรงงานดูแลสุขภาพตนเอง และมีการดูแลสุขภาพร่างกายจากหน่วยภายนอก และ 2) ด้านจิตใจ นายจ้างควรจัดกิจกรรมให้กับผู้ใช้แรงงานก่อสร้าง เพื่อลดความเครียดและเพิ่มความสุขในการทำงาน Abstract          The purposes of this research were to study the experience and life quality of Bangkok construction labourers and to study ways of improving their quality of life by using qualitative research. The participants non-registered were 24 construction laboutets, 5 experienced people who worked for labous quality of life improvement and 19 experts in improving labours quality of life. The methodology used were in-depth interviews, observation and the EDR technique.         The research finding revealed that:         The majority of the subjects were from the northeastern region. Most of them migrated to Bangkok because of insufficient funds for agricultural investment. Most of the subjects were satisfied with their health, some had health problems and illness that needed regular treatment. In terms of lifestyle and working conditions, the subjects still loved their work despite having to work hard since they could earn enough income to support themselves and their family. Some had a good relationship with their employers event the employers were always strict with them. The relationship between labourers and their colleagues and families were good. They worked without stress; however, some had bad working conditions. A few had conflicts with other people because of drinking, gambling and debt problems. Most of the labourers were satisfied with their accommodation and the environment conditions, but some needed better accommodation and environment conditions. The majority of the labourers were satisfied with their recreational areas and the facilities provide such as drinking water supply, and electricity.         2. At the organizational level, approaches to improve the quality of life of construction workers consist of 4 aspects; 1) labour laws improvement. Furthermore, the government must urgently address the problems of narcotics; 2) life quality management must be addressed. To achieve this, the Bangkok Metropolitan must allocated a budget to facilitate direct supervision of workers’ conditions. In addition, an appropriate working hours should be specified; 3)workers must be provided with easy access to education and skill development. Additional training centers are needed; 4) government should build the understanding to construction labour for their worthy contribution to society.         At the individual level, approaches to improve construction workers’ quality of life included the following: 1) workers should be responsible for their own physical health. However, regular health checks should be provided by outside agencies; 2) employers should promote psychological well-being activity to reduce stress in the workforce through the provision of fun recreational activities.

Downloads