การพัฒนาตัวแบบสมรรถนะที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน
Keywords:
การพัฒนาตัวแบบสมรรถนะ, ภาวะผู้นำทางวิชาการ, สมรรถนะ, ภาวะผู้นำทางการศึกษา, ผู้บริหารโรงเรียนAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาตัวแบบสมรรถนะที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน 2) เพื่อทดสอบความสอดคล้องของโมเดลโครงสร้างตัวแบบสมรรถนะที่มีอิทธิพลต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จากการพัฒนาขึ้นกับข้อมูลเชิงประจักษ์ การดำเนินการวิจัยแบ่งออกเป็น 2 ระยะ คือระยะเป็นการกำหนดกรอบแนวคิดในการวิจัย ดำเนินการโดยการวิเคราะห์เอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และสัมภาษณ์ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 8 คน ใช้แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการวิเคราะห์เชิงเอหา (Content Analysis) ระยะที่สองเป็นการตรวจสอบสมมติฐานการวิจัย ดำเนินการโดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูลซึ่งแบบสอบถามมีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเที่ยงทั้งฉบับเท่ากับ 0.96 กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน ปีการศึกษา 2554 จำวน รวม 420 คน การได้มาของกลุ่มตัวอย่างใช้วิธีการสุ่มแบบหลายขั้นตอน (Multi-stage Random Sampling) วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบพียร์สัน (Pearson’s product Moment Correlation Coefficient) และใช้โปรแกรม LISREL for Windows ในการวิเคราะห์โครงสร้างความสัมพันธ์เชิงเส้นตรง ผลการวิจัยพบว่า ในภาพรวมพบว่าผลการพัฒนาตัวแบบสมรรถนะที่อิทธิพลต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานมีความกลมกลืนกับข้อมูลเชิงประจักษ์ (X2 = 297.29, d-value = 0.00, RMSEA = 0.48, GFI = 0.93, AGFI = 0.91, Largest Standardized Residual = 0.11) เมื่อพิจารณาค่าอิทธิพลรวมที่ส่งผลต่อการเสริมสร้างภาวะผู้นำทาง วิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่าองค์ประกอบด้านภูมิหลังมีค่าอิทธิสูงสุด ซึ่งมีค่าเท่ากับ 0.76 องค์ประกอบด้านภูมิหลังมีค่าอิทธิพลทีส่งผลรองลงมาได้แก่ องค์ประกอบด้านสมรรถนะด้านวิจัย คุณธรรม จริยธรรม จรรยาบรรณวิชาชีพ ซึ่งมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.44 ค่าอิทธิพลที่ส่งผลรองลงมาอีกได้แก่ องค์ประกอบด้านสมรรถนะประจำสายงาน ซึ่งมีค่าอิทธิพลเท่ากับ 0.24 และองค์ประกอบด้านสมรรถนะหลัก ซึ่งมีค่าอิทธิพลทางลบเท่ากับ -14.16 ตามลำดับ เมื่อพิจารณาสมการโครงสร้างพบว่าองค์ประกอบในรูปแบบสามารถอธิบายค่าความแปรปรวนขององค์ประกอบด้านภาวะผู้นาทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษาขั้นพื้นฐานได้ร้อยละ 47.00 ABSTRACT The purposes of this study were to 1) to develop competency model affecting instructional leadership for education school principals 2) To test the consistency of the structural model and capacity affecting instructional leadership for basic education school principals with empirical data. The research was divided into two phase: the first phases was the determination on the study framework including an analysis of related document and research, structural interviews were instruments to interview 8 distinguished persons, and a content analysis were used in analyzing the data; the second phase comprised a test of hypothesis based on a set of 5-level rating scale questionnaires with the reliability of 0.96. The sample by mean of multistage random sampling, consisted of 420 school principals under the Office of the Basic Education Commission in 2554. Data were analyzed by the SPSS program. The statistical device were frequency, percentage, mean, standard deviation, Pearson’s Product Moment Correlation Coefficient. In search of an analysis of linear structure, the LISREL for Windows was employed. The findings of this study were: The major finding as a whole in developing the competency model affecting instructional leadership of school principals in basic education was found harmonize with empirical data X2 = 297.29, d-value = 0.00, RMSEA = 0.48, GFI = 0.93, AGFI = 0.91, Largest Standardized Residual = 0.11) When considering the total influence value, affecting instructional leadership of school principals, it was found that the background factors attributed with the most influence 0.76, The next background factors that influenced were disciplinary code of professional ethics competencies equivalent 0.44, followed by the functional competencies for the influence that resulted in the second week. The performance of the work. Which is influenced by factors of equivalent 0.24 and core competencies. Had negative influence, -14.16, respectively. Considering that the structural equation model could explain the variance of the instructional leadership of the school principals of being 7.00 percent.Downloads
Issue
Section
Articles