ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิตสังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ

Authors

  • ณัฏติยาภรณ์ หยกอุบล

Keywords:

ปัจจัย, ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, Factors, Academic achievement

Abstract

บทคัดย่อ          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน 2) เพื่อศึกษาอิทธิพลปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียนที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนและ 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2553 โงเรียนสาธิต สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา กระรทวงศึกษาธิการจำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 352 คน ตัวแปรที่ศึกษาประกอบด้วย ตัวแปรแฝงภายนอก 2 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านโรงเรียน ละปัจจัยด้านครอบครัว และตัวแปรแฝงภายใน 1 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านตัวนักเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานโดยใช้โปรแกรม SPSS และโปรแกรม LISREL 8.72 ในการวอเคราะห์เส้นทาง (Path Analysis) และตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ          ผลการวิจัยพบว่า ปัจจัยด้านโรงเรียน ด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้แก่ ปัจจัยด้านตัวนักเรียน ซึ่งประกอบด้วย 1) เจตคติต่อวิชาวิทยาศาสตร์ 2) แรงจูงใจฝาสัมฤทธิ์ และ 3) การทำการบ้านของนักเรียนส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้แก่ ปัจจัยด้านโรงเรียน ซึ่งประกอบด้วย 1) คุณภาพการสอนของครู 2) ความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหาร และ 3) ความสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนและปัจจัยด้านครอบครัวประกอบด้วย 1) การส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้ปกครองและ 2) ความสัมพันธ์ภายในครอบครัวซึ่งการทดสอบความสอดคล้อ อาจารย์โรงเรียนสาธิต”พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพาของโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยด้านโรงเรียนด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียน กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 พบว่า มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ในเกณฑ์ดี พิจารณาจากค่า X2 เท่ากับ 16.076, ค่า p-Value เท่ากับ .309 ที่องศาความเป็นอิสระ เท่ากับ 14, ค่าไค-สแควสัมพันธ์ (X2/df) เท่ากับ 1.148, ค่า GFI เท่ากับ .990, ค่า AGFI เท่ากับ .018, ค่า RMSEA เท่ากับ .021, ค่า CFI เท่ากับ .999, ค่า NFI  เท่ากับ .996 และค่าสัมประสิทธ์การพยากรณ์ตัวแปรตาม มีค่าเท่ากับ .906 นั่นคือ ปัจจัยด้านโรงเรียนด้านครอบครัว และด้านตัวนักเรียน สามารถร่วมกันอธิบายความแปรปรวนของตัวแปรผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ของนักเรียนได้ร้อยละ 90.60 ABSTRACT          The purposes of this research were: (1) investigate the relationship among school factors, family factors, and students factors with the students’ academic achievement in sciences; (2) To study the influences of school factors, family factors, and student factors upon the students’ academic achievement in sciences; and (3) To examine the congruency of the causal relationship model among school factors, family factors, and student factors with the students’ academic achievement in sciences. The sample of the study consisted of 352 students studying in Grade6 in the second semester of the academic tear 2010 of 10 demonstration schools under the jurisdiction of the Office of Higher Education. Variables of the study were 2 exogenous latent: school factors and family factors, and 1 endogenous latent, student factors. A questionnaire was an instrument used for collecting the data. Descriptive statistics were employed for the data analysis through the SPSS program, and LISREL for path analysis and testing the congruency of the causal relationship model.          The findings revealed that school factors, family factors, and student factors were significantly related to the students’ academic achievement at the statistical level of .01. Student factors were found having direct positive influences upon the students’ academic achievement in sciences. Student factors included 1) Attitude towards sciences; 2) Achievement motivation, and 3) Students doing their homework. In addition, school factors and family factors were found having indirect positive influences upon the student’s academic achievement in sciences. School factors consisted of 1) Teachers’ quality of teaching; 2) Academic leadership of the school administrators, and 3) Relationship between teachers and student; while family factors comprised 1) Learning encouragement from parents, and 2) Relationship within the family. As for testing of the congruency of the causal relationship model among school factors, family factors, and student factors with the students’ academic achievement, it was found out that it was congruent with empirical data in a good criterion by considering from the value of X2 = 16.076, p-value = .309, degree of freedom = 14, X2/df = 10148, GFI = .990, AGFI = .968. RMR = .018, RMSEA = .021, CFI = .999, NFI = .996 and forecasting variable coefficient = 0.906. Consequently, it can be concluded that school factors, family factors, and student factors can help explain 90.60 percent of the variables in the academic achievement in the sciences subject of the Grade 6 students.

Downloads