การพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษาของผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน

Authors

  • เกรียงศักดิ์ บุญญา

Keywords:

การบริหารอาชีวศึกษา, ผู้ช่วยผู้บริหาร, การบริหารการศึกษา, การพัฒนาการศึกษา, การศึกษาทางอาชีพ.

Abstract

บทคัดย่อ          การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาการบริหารอาชีวศึกษาของผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน 2) เพื่อสร้างหลักสูตรพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษา 3) เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบการพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษาผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชนก่อนและหลังการฝึกอบรม          กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาเอกชนด้านอาชีวศึกษาในภาคตะวันออก จำนวน 37 แห่ง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และหลักสูตรการอบรม การทดลองจริง แบบแผนสองกลุ่มเหมือน ทดสอบก่อน-หลัง (The pretest-Posttest Equivalent-Group Design) การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่า ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และการทดสอบค่าที (t-test)         ผลการวิจัยพบว่า          1. ความต้องการพัฒนาการบริหารอาชีวศึกษาของผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ด้านกานบริหารอาชีวศึกษาโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก          2. หลักสูตรประกอบด้วยเนื้อหาหลักสูตร 5 ด้านคือ 1) ด้านหลักการเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการศึกษา 2) การประเมินคุณภาพการศึกษา 3) วิสัยทัศน์และแผนการพัฒนาการศึกษา 4) คุณธรรมจริยธรรมสำหรับผู้บริหาร 5) หลักการพัฒนาครูบุคลากรทางการศึกษา          3. ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาการการบริหารอาชีวศึกษาของผู้ช่วยผู้บริหารสถานศึกษาเอกชน ระหว่างกลุ่มทดลองกับกลุ่มควบคุม โดยภาพรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าผู้ช่วยผู้บริหารด้านส่งเสริมการศึกษาและผู้ช่วยผู้บริหารด้านกิจการนักเรียนกลุ่มทดลองแตกต่างกับผู้ช่วยผู้บริหารด้านส่งเสริมการศึกษาและผู้ช่วยผู้บริหารด้านกิจการนักเรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 Abstract          The purposes of the research were to ; 1) To develop the vocational education ability of administrator assistants of private vocational schools 2) Curriculum development of vocational education of administrator assistant and 3) To compare the ability of the administer assistants before and after training.          The sample consisted of 37 private vocational schools in the eastern region of Thailand. The tools for data collection were questionnaire, interview, pretest and posttest. The research design is the protest-posttest equivalent-group design. The data analysis were percentage, mean, standard deviation and t-test.          It was found that,          1. The need for development of vocational development of administrator assistants as a whole was at high level.          2. The curriculum consisted of 5 components including; 1) Educational information technology, 2) Educational quality assessment, 3) Vision and educational development plan, 4) Ethics for administrator, and 5) Principle of educational personnel development          3. The development of vocational education of administrator assistant of private schools in 4 areas namely. 1) Academic affairs, 2) Educational promotion, 3) Students affairs, and 4) General administration between the control and experimental group were found to be statistically significant difference at .05 level. When considered in each aspect it was found that the development in education promotion and the development of student affairs of administrator assistants in experimental group differed significantly from the control group at .05 level.

Downloads