ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง
Keywords:
ชุมชนกับโรงเรียน, ไทย, ระยอง, แหล่งสารสนเทศ, พื้นที่ชุ่มน้ำAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการ แนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา ผลของการปฏิบัติตามแนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษา และสังเคราะห์ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมจากผลการปฏิบัติของชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ พื้นที่เป้าหมาย ได้แก่ พื้นที่ชุ่มน้ำ ตำบลชากพง อำเภอแกลง จังหวัดระยอง ใช้กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย แกนนำชุมชน ผู้ใหญ่บ้าน ผู้บริหารโรงเรียน ครูและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 30 คน โดยเลือกแบบเจาะจง การวิจับแบ่งออกเป็น 2 ขั้นตอน คือ ศึกษาความต้องการ แนวทางแก้ปัญหาของชุมชน และสถานศึกษาโดยใช้กระบวนการ AIC และใช้กระบวนการวิจับชิงปฏิบัติการแบบมีส่วนร่วม ผลกาวิจัย พบว่าสภาพปัญหาที่มีมากที่สุด ได้แก่ การบุกรุกทำลายทรัพยากรป่าไม้ในพื้นที่ชุมน้ำ การเผาป่า ความต้องการของชุมชนคือการส่งเสริมให้ประชาชน และเยาวชนในชุมชนได้รับการพัฒนาความรู้ ความเข้าใจ เจตคติทักษะ และการมส่วนร่วมในการแก้ไขปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จากข้อมูลจริงและภูมิปัญญาท้องถิ่น ส่งเสริมการคิดและการทำงานอย่างเป็นระบบ แนวคิดการมีส่วนร่วมระหว่างชุมชนกับสถานศึกษาโดยศึกษาพฤติกรรมการใช้พื้นที่ชุ่มน้ำของชุมชน และสถานศึกษา การแสดความคิดเห็น แลกเปลี่ยนประสบการณ์ หาข้อสรุปในการแก้ปัญหาอย่างประชาธิปไตย และส่งเสริมให้ทุกคนร่วมเป็นส่วนของความคิดในการพัฒนาแหล่งเรียนรู้และปรากฏผลของการปฏิบัติการมีส่วนร่วมดังนี้ ยุทธศาสตร์การมีส่วนร่วมจากผลการปฏิบัติของชุมชนกับสถานศึกษาเพื่อพัฒนาแหล่งเรียนรู้ธรรมชาติและการใช้ประโยชน์ของชุมชนในพื้นที่ชุ่มน้ำ มียุทธศาสตร์ดังนี้ 1) การจัดการองค์ความรู้ขอชุมชนและสถานศึกษาให้มีผลต่อการพัฒนาพื้นที่ชุ่มน้ำ 2) การส่งเสริมศักยภาพภาคีเครือข่าย และส่งเสริมการมีส่วนร่วมของชุมน 3) การพัฒนาชุมชนให้เข้าแข็งมีระบบการบริหารจัดการที่ดีและพึ่งตนเองได้ และ 4) การประเมินผลการดำเนินงานเพื่อปรับปรุงและพัฒนา ABSTRACT The purpose of this study were; to study problem, needs opinions concerning participations between community and school, to study the results of the implementation of the community and school participation, and to synthesize participation strategies from the community and school participation program implementation for wetland natural learning resource development and utilization of Tambon Chakpong, Amphor Klaeng, Rayong Province. The research participants were community leader, village’s head, school administrators, teachers and student’s parents with the total of30 persons, they were selected purposively, The participatory research comprised to two stages; studying the problem and need, solution to the problems, and the participatory action research stage. It was found that: The most problem found is the encroachment to the wet land and burning of forest. The need of the community are promoting of knowledge, understanding, attitude and opportunity for participation in solving environmental problem of people and youths in the community, and the promotion of thinking and systematic working. The strategies for developing wetland natural learning resource and the utilization for wetland are; 1) organizing the body of knowledge of community and school to affect the development of wetland, 2) promoting the capability of network and promoting of community participation, 3) developing a good management system to become self-reliance and, 4) providing formative evaluation for improvement and development.Downloads
Issue
Section
Articles