การศึกษาความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา ประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1

Authors

  • อรุณศรี อ้ายมาศน้อย
  • จินดา ศรีญาณลักษณ์

Keywords:

ธรรมรัฐ, โรงเรียน, การบริหาร, ไทย, แม่ฮ่องสอน, ผู้บริหารโรงเรียน, บุคลากรทางการศึกษา

Abstract

บทคัดย่อ          การศึกษาวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาและเปรียบความคิดเห็นของบุคลากรทางการศึกษาที่มีต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน และศึกษาปัญหาและแนวทางการพัฒนาการบริหารตามหลักธรรมาภิบาล ในการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ บุคลากรทางการศึกษาในอำเภอเมือง จำนวน 206 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามแบบประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ คะแนนเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)          ผลการวิจัยพบว่า          1. บุคลากรทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษา โดยรวมอยู่ในระดับมาก          2. บุคลากรทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และประสบการณ์การทำงาน มีความคิดเห็นต่อการบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลของผู้บริหารสถานศึกษาไม่แตกต่างกัน ยกเว้นด้านหลักนิตะธรรม บุคลากรทางการศึกษาเพศชายและเพศหญิงมีความคิดเห็นแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05          3. บุคลากรทางการศึกษาในอำเภอเมือง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 1 มีความคิดเห็นว่าการบริหารงานของผู้บริหารสถานศึกษาสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 1 บริหารงานแบบตามใจ ใช้อารมณ์เหนือเหตุผล ไม่กระจายภาระงานให้เหมาะสมกับบุคลากร ยึดหลักระบบอุปถัมภ์ มีความลำเอียง ขาดวินัยไม่มีศีลธรรมประจำใจ ไม่มีการวางแผนงานประชุมชี้แจงการใช้จ่ายงบประมาณทำให้เกิดความไม่โปร่งใส ไม่เปิดโอกาสให้บุคคลภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ ทำให้เกิดความผิดพลาดบ่อย มีผลเสียต่อส่วนรวมและหมู่คณะ          4. แนวทางการพัฒนาให้ผู้บริหารถานศึกษามีความเป็นกลาง ควรบริหารงานด้วยเหตุผล ใช้มาตรฐานเดียวกัน กระจายภาระงานให้เหมาะสม พิจารณาตามผลงานและความสามารถ สร้างจิตสำนึกให้บุคลากรโดยจัดอบรมคุณธรรมและมอบรางวัลให้ มีปฏิทินการปฏิบัติงาน โปร่งใสตรวจสอบได้ทุกเรื่อง และประชุมชี้แจงทุกครั้งเมื่อมีการดำเนินการแล้วเสร็จ เปิดโอกาสให้บุคลากรภายนอกเข้ามามีส่วนร่วมในการวางแผนปฏิบัติการและสนับสนุนโดยยึดหลักบริหารงานตามหลักธรรมาภิบาลอย่างสม่ำเสมอเพื่อประสิทธิภาพและประสิทธิผล ABSTRACT          The purposes of this research were (1) to investigate and compare the opinion of educational staff towards the Good Governance Administration of School’s Administration in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1 based on gender, educational experience; and (2) to study the problems and guidelines for the development of administration in accordance with the Good Governance Administration of School’s Administration in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1. The sample included 206 educational staff in Muang District. Data were collected using a questionnaire. The statistics used to analyze the data were frequency, percentage, mean, standard deviation and t-test.          The findings of this research revealed following:          1. The overall opinion of staff in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1 was found to be at a high level.          2. With regard to the comparison of opinions among educational staff towards the Good Governance Administration of School’s Administration in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1, based on gender, education and experience, there was found to be no difference in all aspects, except male and female educational staff who were surveyed showed that the rule of law was found to have statistical significance of 0.05.          3. Regarding  to the problems for management of school’s administrators. The educational staff in Muang District in the Primary Maehongson Educational Service Area Office 1 revealed that the school’s administrators manage in a permissive-style; they lack emotion; they do not delegate effectively. There is also a fixed patronage system; injustice; lack of discipline and morality; no budgetary planning and ambiguity. Moreover, there was no opportunity for other persons to participate in administration. Hence, mistakes were often made and the entire mismanaged school administration created problems for staff in the school.          4. Developing Guidelines for the school’s administrators, the educational staffs in Muang District in the primary Maehongson educational service area office 1 revealed that the school’s administrators  should be neutral, reasonable, use the same standard to effectively delegate functions that result in competent, high performance; to provide awareness and personnel training, and reward good practice. A calendar of events; transparency and accountability should be the subject of a meeting when it is completed. An opportunity for staff to participate in the planning and operations support services, based on the principles of good governance is designed to be effective and efficient

Downloads