ความคิดเห็นของครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา แม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน

Authors

  • สุธินันท์ วิมาลัย
  • จินดา ศรีญาณลักษณ์
  • เจตนา เมืองมูล

Keywords:

ครู, ทัศนคติ, การทำงาน, สมรรถนะ, สมรรถนะประจำสายงาน

Abstract

บทคัดย่อ          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความคิดเห็น เปรียบเทียบความคิดเห็น และข้อเสนอแนะของครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของสำนักงานคณะกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ ครุในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่กาศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 280 คน กลุ่มตัวอย่างทีใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ปีการศึกษา 2555 โดยการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเครซี่และมอร์แกน ได้ขนาดกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 162 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (X) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (SD) และ การทดสอบค่าที (t-test)          ผลการวิจัยพบว่า          1. ครูในอำเภอแม่ลาน้อยมีความคิดเห็นต่อการปฏิบัติงาตามสมรรถนะประจำสายงาน โดยรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อย พบว่า ครูในอำเภอแม่ลาน้อยมีความคิดเห็นอันดับแรก ได้แก่ การบริหารจัดการชั้นเรียน รองลงมา การพัฒนาผู้เรียน และ ภาวะผู้นำครู ตามลำดับ          2. ความคิดเห็นของครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอนเขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงานของสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำแนกตามเพศ อายุ วิทยฐานะ และประสบการณ์ในการทำงานในสถานศึกษา โดยภาพรวมมีความคิดเห็นไม่แตกต่างกัน          3. ผลการวิเคราะห์ข้อเสนอแนะของครูในอำเภอแม่ลาน้อย สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาแม่ฮ่องสอน เขต 2 ที่มีต่อการปฏิบัติงานตามสมรรถนะประจำสายงายของครู รายด้านเรียนค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยพบว่า ครูในอำเภอแม่ลาน้อยมีข้อเสนอแนะอันดับแรก ได้แก่ การบริหารหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ รองลงมาการวิเคราะห์ สังเคราะห์ และการวิจัยเพื่อพัฒนาผู้เรียน และ ภาวะผู้นำครู ตามลำดับ ABSTRACT          The purposes of this study were to investigate and to compare the opinions of teachers and based on the study’s findings, to suggest ways to improve the functional competencies of the Basic Education Commission in Mealanoi, under the office of Maehongson Primary Eduducation Service Area 2. The sample consisted of 162 teachers from Amphur Maelanoi nuder the office of Meahongson Primary Education Service Area 2. This group was categorized according to gender, age, education, academic standing, and educational experimental experience. The instruments used to collect data were a personal inventory and a five-response rating scale questionnaire. The statistics used in analyzing the data were percentages, means, standard deviation and t-test.          The findings of this research were as follows: Teachers’ opinions their personal competencies considered class management, student motivation and teacher’s leadership as the most important; A comparison of teachers’ opinions towards the competencies of the Basic Education Commission, have found that generally they do not have different opinions according to their sex, level of position, and work experience in schools; and Teachers’ and teachers’ opinion towards the competencies of curriculum management and studying, analysis, multiply and research in order to develop studying activities, and the last item was teacher’s leadership.

Downloads