การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูโดยหลักธรรมพุทธศาสนาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ
Keywords:
การฝึกอบรม, นักศึกษาวิทยาลัยครู, ครู, จรรยาบรรณAbstract
บทคัดย่อ การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาและเผยแพร่หลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยยึดหลักธรรมพุทธศาสนาสำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ กลุ่มตัวอย่างได้แก่นักศึกษาคณะครุศาสตร์ มหาวิททยาลัยราชภัฏรำไพพรรณี ที่กำลังศึกษาระดับชั้นปีที่ 5 ปีการศึกษา 2555 จาก 4 สาขา คือ วิทยาศาสตร์ทั่วไป การศึกษาปฐมวัย พลศึกษา และคณิตศาสตร์ จำนวน 143 คน ได้จากการเลือกแบบเฉาพะเจาะจง เฉพะนักศึกษาที่ออกฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูขั้นเต็มรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แบบตรวจสอบคุณภาพของหลักสูตรฝึกอบรม แบบวัดการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษามาหาวิทยาลัยราชภัฏ แบบประเมินตนเองก่อนและหลังการพัฒนา และแบบประเมินกาปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปเพื่อหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบายงเบนมาตรฐานและทดสอบค่าที ผลการวิจัยปรากฏว่า หลักสูตรฝึกอบรม เพื่อพัฒนาการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู โดยหลักธรรมพุทธศาสนา สำหรับนักศึกษาวิชาชีพครูมหาวิทยาลัยราชภัฏ ประกอบด้วยเนื้อหาการพัฒนา 9 เรื่อง สร้างเป็นแผนการจัดกิจกรรมพัฒนา 9 แผน ได้แก่ 1) พระพุทธศาสนากับวิถีชีวิตครู 2) จรรยาบรรณและแบบแผนพฤติกรรมตามจรรยาบรรณวิชาชีพครู 3) หลักธรรมพุทธศาสนาเบญจศีล - เบญจธรรม 4) หลักธรรมพุทธสานาอิทธิบาท 4 5) หลักธรรมพุทธสานาฆราวาสธรรม 4 6) หลักธรรมพุทธศาสนาสัปปุริสธรรม 7 7) หลักธรรมพุทธศาสนาพรหมวิหาร 4 8) หลักธรรมพุทธศาสนากัลยาณมิตรธรรม 7 และ 9) หลักธรรมพุทธศาสนาสังคหวัตถุ 4 ผลการศึกษาพฤติกรรมการปฏิบัติตนตามจรรยาบรรณวิชาชีพครูของนักศึกษาพบว่าก่อนการอบรมอยู่ในระดับปานกลลาง หลังการอบรมอยู่ในระดับดีมาก และดี โดยมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 การประเมินพฤติกรรมหลังการอบรม พบว่าการปฏิบัติตนของนักศึกษาวิชาชีพครู จรรยาบรรณต่อตนเอง จรรยาบรรณต่อวิชาชีพครู จรรยาบรรณต่อผู้รับบริการและจรรยาบรรณต่อผู้ร่วมประกอบวิชาชีพ อยู่ในระดับดีมาก ส่วนจรรยาบรรณต่อสังคมอยู่ในระดับดี ภายหลังการสรุผลการทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมได้นำเสนอต่อผู้เกี่ยวข้องกับการผลิตครูและเผยแพร่ให้มหาวิทยาลัยราชภัฏทุกแห่ง ABSTRACT The purposes of this research were to develop and disseminate the training curriculum of self-development in accordance with the professional ethics by Buddhism principle of teacher trainees, Rajaphat University. The samples of the study were 137 Faculty of Education fifth year students, Rambhai Barni Rajabhat University from 4 different majors: General science, Early Childhood Education, Physical Education and Mathematics by purposive sampling of full time practice teaching students. The instruments of this study included training curriculum appraising form, self-practice according to the professional ethics of Rajabhat University students appraising form, self-evaluation form for before and after the development and self-practice according to the professional ethics appraising form. Mean, standard deviation and t-test were used for data analysis. The results of the study revealed that training curriculum for self-development in accordance with the professional ethics by Buddhism principle of teacher trainees, Rajabhat University composed of 9 contents of development and was built into 9 activities of development. 1) Buddhism and teacher way of life 2) ethics and formal behavior according to the professional ethics 3) Buddhism principle in five percepts and five virtues 4) Buddhism principle in four paths of accomplishment 5) Buddhism principle in four virtues for household life 6) Buddhism principle in seven virtues for good deed persons 7) Buddhism principle in four virtues for senior persons 8) Buddhism principle in four virtues for friendship and 9) Buddhism principle in four virtues for good conditions of living. The study of self-development in accordance with the professional ethics of students’ behaviors before the training were in medium level and were in high and very high level after the training. It found statistically significant difference at .01. The evaluation of students’ behaviors after the training found that ethics to oneself, ethics to profession, ethics to clients and ethics to the colleagues were in very high levels except ethics to society was in high level. After the implement, the developed curriculum was disseminated to the stakeholders and Rajabhat University.Downloads
Issue
Section
Articles