ผลการปรึกษากลุ่ม ทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และพฤติกรรมต่อการเผชิญปัญหาของผู้ช่วยพยาบาล

Authors

  • รวีวรรณ สายแก้วดี
  • ระพินทร์ ฉายวิมล

Keywords:

การให้คำปรึกษา, การให้คำปรึกษาแบบกลุ่ม, การปรับตัว, จิตวิทยา

Abstract

            การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาผลการปรึกษากลุ่ม ทฤษฎีแบบพิจารณาเหตุผล อารมณ์และพฤติกรรมต่อการเผชิญปัญหาของผู้ช่วยพยาบาล กลุ่มตัวอย่างได้แก่ผู้ช่วยพยาบาลผู้หญิง ที่เข้าปฏิบัติงานปี 2554 โรงพยาบาลกรุงเทพระยอง จังหวัดระยอง จำนวน 16 คน สุ่มอย่างง่ายเข้ากลุ่ม 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่ได้รับการปรึกษากลุ่ม ทฤษฎีพิจารณาเหตุผล อารมณ์ และ พฤติกรรม ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น โดยดำเนินการทดลองทั้งหมด จำนวน 12 ครั้ง เป็นเวลา 6 สัปดาห์ๆ ละ 2 ครั้งๆ ละ 1 ชั่วโมง 30 นาที การทดลองแบ่งเป็น 3 ระยะ คือ ระยะก่อนการทดลอง ระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผล สถิติที่ใช้คือการวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบวัดซ้ำประเภทหนึ่งตัวแปรระหว่างกลุ่มและหนึ่งตัวแปรภายในกลุ่ม (Repeate Measures Analysis of Variance: One between-Subjects Variable and One Within-Subjects Variable) และทดสอบความแตกต่างของค่าเฉลี่ยด้วยวิธีทดสอบรายคู่แบบ นิวแมน-คูลล์ (Newman – Keul Procedure)            ผลการวิจัยพบว่า ผู้ช่วยพยาบาลกลุ่มทดลองมีการเผชิญปัญหา ในระยะหลังการทดลอง และระยะติดตามผลสูงกว่าระยะก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05            The purpose of this research was to study the effects of Coping Strategies Ration Emotive Behavior Therapy group counseling on Coping Strategies of new Nurse Aids. The sample consisted of sixteen Nurse Aids who had the lowest scores of Coping Strategies test on Sharing in their group. The simple random sampling method was used to divide the sample into two groups: an experimental group and a control group, with eight members in each. The instruments used in this research were the Ration Emotive Behavior group counseling program and the Coping Strategies Inventory. The interventions were administered for twenty sessions, each session lasted about ninety minutes.            The research design was a two-factor experimental with repeated measures on one factor. The study was divided into three phases: the pre-test phase, the post-test phase, and the follow-up phase. The data were analyzed by repeated-measures analysis of variance: one between-subjects variable and one within-sujects variable and the testing of difference among means by the Newman-Keul’s test of multiple comparison procedures.            The result revealed that there was a statistically significant interaction at .05 level between the methods and the duration of the experiment. Participants in the experimental group had higher Coping Strategies than Nurse Aids in the control group in the post-test and the follow –up phases with the statistical significance at .05. The Nurse Aids in the experimental group had higher Coping Strategies in the post-test and follow-up phases than in the pre-test phase with the statistical significance at .05.

Downloads