ปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • นคร เหมนาค
  • ธร สุนทรายุทธ
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียน, การศึกษา, ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น

Abstract

          การวิจัยนี้มีความมุ่งหมายของการวิจัยเพื่อศึกษาปัจจัยและระดับผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยม ศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี และเพื่อสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ข้าราชการครูของโรงเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี ปีการศึกษา 2554 กำหนดอำเภอเป็นชั้นในการสุ่มได้กลุ่มตัวอย่าง 59 โรงเรียน ผู้ตอบแบบสอบถามเป็นข้าราชการครู 341 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบเติมข้อความและแบบสอบ ถามมาตราส่วนประมาณค่า 4 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบด้วย ค่าคะแนนเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ แบบขั้นตอน            ผลการวิจัยสรุปผลได้ดังนี้            1. ระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2554 โดยภาพรวม ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2554 ของนักเรียนชั้นมัธยมตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ เมื่อพิจารณารายสาระการเรียนรู้พบว่าอยู่ในระดับต่ำกว่าเกณฑ์ทั้ง 8 สาระการเรียนรู้ ได้แก่ สาระการเรียนรู้ภาษาไทย สาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ สาระการเรียนรู้สังคมศึกษา สาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ สาระการเรียนรู้ศิลปะ สาระการเรียนรู้สุขศึกษา สาระการเรียนรู้การงานอาชีพ และสาระการเรียนรู้ภาษาอังกฤษ            2. ระดับปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้าน พบว่าอยู่ในระดับมาก 7 ด้าน ได้แก่ ปัจจัยด้านครู ปัจจัยด้านผู้บริหาร ปัจจัยด้านหลักสูตร ปัจจัยด้านทรัพยากรเพื่อการเรียนการสอน ปัจจัยด้านเพื่อน ปัจจัยด้านครอบครัว และปัจจัยด้านการเรียนพิเศษ            3. ปัจจัยกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นจังหวัดปราจีนบุรี โดยรวมและรายด้านมีความสัมพันธ์กันทางบวก อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05            4. จากสมการพยากรณ์ที่ดีที่สุด พบว่า ตัวแปรพยากรณ์ของปัจจัยที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาจังหวัดปราจีนบุรี ด้านหลักสูตร (X3) สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรีโดยรวม (Ŷ) ได้ร้อยละ 09.10 และพยากรณ์สามารถผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา จังหวัดปราจีนบุรี ได้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ได้สมการถดถอยในรูปคะแนนดิบ ดังนี้ Ŷ= 26.054 + 3.640(X3)            This research aimed to study the factors affecting the achievement of students in secondary schools under the office of Prachinburi Primary Education Service Area and the relationship between the factors and students’ achievement regression equation. The sample comprised of school teachers in the secondary schools under the office of Prachinburi Primary Education Service Area. They were selected through classified random sampling based on district location. Ninety five schools were identified and 341 teachers were selected for the study. The data collection instrument was four scale questionnaires. Means, standard deviations, Pearson correlation coefficients and stepwise multiple regression analysis were used for data analysis. The major findings were as follows;            1. The students. Achievement, according to the result of the National Education Testing (O-NET) of the 2554 year was below average. When consider individual subject strand it was found that all of them were below a threshold.            2. The factors that affected students. Learning achievement were; teacher factor, administrator factor, curriculum factor, learning resource factor, peer factor, family factor and attending tutoring class factor, all were ranked at high level.            3. The factors were high positively correlated with students. Learning achievement at .05 statistical significance.            4. The best predicting equation in curriculum aspect can predict students’ learning achievement for 9.10 percents. It can predict the overall students’ achievement with the statistical significant level of .05            The regression equation of the scores is Ŷ = 26.054 + 3.640 (X3)

Downloads