การศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี

Authors

  • Zhang Qing Ling
  • สิทธิพร นิยมศรีสมศักดิ์

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียน, การศึกษา, ภาษาจีน

Abstract

            การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับของปัจจัยด้านครอบครัว ด้านตัวนักเรียน ด้านโรงเรียนและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี และหาความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ภายในครอบครัว ตัวนักเรียน และโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน รวมทั้งสร้างสมการพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน จากตัวแปรกลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนชุมชนวัดหนองค้อ สังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดชลบุรี จำนวน 110 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ แบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์อย่างง่าย และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน            ผลการวิจัยพบว่า            1. ปัจจัยด้านครอบครัว พบว่า รายได้ของผู้ปกครองนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 10,001 - 15,000 บาท การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองนักเรียนอยู่ในระดับปานกลาง ปัจจัยด้านตัวนักเรียน พบว่า เจตคติต่อวิชาภาษาจีน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อวิชาภาษาจีนอยู่ในระดับมาก และความรู้พื้นฐานของภาษาจีนส่วนใหญ่มีเกรดอยู่ระหว่าง 0 - 1.00 ปัจจัยด้านโรงเรียน พบว่า คุณภาพการสอนของครูสอนภาษาจีน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน และความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารอยู่ในระดับมาก และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนของนักเรียนส่วนใหญ่อยู่ระหว่าง 0-1.00            2. ความสัมพันธ์ของตัวแปรต่าง ๆ ภายในครอบครัว ตัวนักเรียน และโรงเรียนกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน พบว่า เจตคติต่อวิชาภาษาจีน แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ต่อวิชาภาษาจีน ความรู้พื้นฐานของภาษาจีน คุณภาพการสอนของครูสอนภาษาจีน ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนวิชาภาษาจีนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) ส่วนรายได้ของผู้ปกครองนักเรียนที่เรียนภาษาจีน การส่งเสริมการเรียนของผู้ปกครองที่เรียนภาษาจีนและความเป็นผู้นำด้านวิชาการของผู้บริหารมีความสัมพันธ์อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ            3. ตัวแปรที่สามารถพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีน คือ ความรู้พื้นฐานของภาษาจีนปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน สามารถร่วมกันพยากรณ์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาจีนได้ร้อยละ 36.40 เขียนสมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบและคะแนนมาตรฐาน ได้ดังนี้            สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนดิบ             Ý = -.318 + 0.613 ความรู้พื้นฐานของภาษาจีน (X5) + 0.270 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน (X7)             สมการพยากรณ์ในรูปคะแนนมาตรฐาน             Z = 0.554 ความรู้พื้นฐานของภาษาจีน (X5) + 0.156 ปฏิสัมพันธ์ระหว่างครูกับนักเรียนที่เรียนภาษาจีน (X7)             The purposes of this study were to evaluate the factors of family, the students, school and achievement score of Chinese language of Matayomsuksa 3 students in Watnongkor Community School under Chonburi Provincial Administration Organization; to find out the relationship among these factors with achievement score of Chinese language, as well as to construct equations of predicting achievement in Chinese language by the factors of family, the student and school. The samples used in this study were 110 Matayomsuksa 3students. The statistical devices were mean, standard deviation, simple correlation and stepwise multiple regression.            The results revealed as follows:            1. The factor of family in the dimension of family income, between 10,001 – 15,000 baht, family support was at moderate level. The factors of the students in the dimension of attitude toward Chinese language and achievement motivation toward Chinese language were rated at high level, but basic knowledge in Chinese language was at 0 -1.00 average score. The factor of school in the dimension of quality of teaching learning, interrelationship between teacher and student and academic leadership of school principal were rated at high level, and Chinese language achievement score was at 0-1.00 .            2. In regard to the relationship among these factors with achievement score of Chinese language, it was found that attitude toward Chinese language, achievement motivation toward Chinese language, basic knowledge in Chinese language, quality of teaching learning and interrelationship between teacher and student, were related with Chinese achievement with statistical significance (p < .05). But, their family income, family support and academic leadership of school principal had no significant relation to Chinese language achievement.            3. Knowledge in Chinese language and interrelationship between teacher and student, could predict learning achievement in Chinese language at 36.40 % by the following equations of raw scores and standardized scores:             The equation of raw scores             Ý= -.318 + 0.613 basic knowledge in Chinese language (X5) + 0.270 interrelationship between teacher and student (X7)             The equation of standardized scores             Z = 0.554 basic knowledge in Chinese language (X5) + 0.156 interrelationship between teacher and student (X7)

Downloads