ผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม (Constructivism) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

Authors

  • ศุภชัย สมนวล
  • รุ่งฟ้า กิติญาณุสันต์

Keywords:

สังคมศึกษา, การศึกษาและการสอน, มัธยมศึกษา, กิจกรรมการเรียนการสอน, ทฤษฎีสรรคนิยม

Abstract

          การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนทักษะ กระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของกลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมกับกลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสาธิต “พิบูลบำเพ็ญ” มหาวิทยาลัยบูรพา จ.ชลบุรี จำนวน 2 ห้องเรียนๆ ละ 32 คน รวม 64 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม แผนการจัดการเรียนรู้ตามปกติ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และแบบวัดเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม            ผลการวิจัย พบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ของกลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึม และกิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติ โดยรวมมีค่าเฉลี่ยหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน            ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการคิดอย่างมีวิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนของกลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวทฤษฎีคอนสตรัคติวิซึมมีค่าเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ทักษะกระบวนการคิดอย่างมี วิจารณญาณ และเจตคติต่อการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรมสูงกว่ากลุ่มที่เรียนโดยใช้กิจกรรมการเรียนรู้ตามปกติที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05            The purpose of this research was to study and compare the learning effectiveness, critical thinking skills and attitudes toward learning activity and social studies, religion and cultural content between the group of Prathomsuksa 6th students by using constructivism theory and the group that used regular learning activity.            The cluster sampling of this research was two classes of students from Piboonbumpen Demonstration School in Chonburi, each of which consisted of 32 students who are studying in Prathomsuksa 6th. The research tools were constructivism theory lesson plan, regular lesson plan, achievement test, critical thinking skills test and attitude test toward learning activity and social studies, religion and cultural contents.            The result of this research showed that in term of learning effectiveness, critical thinking skills and attitudes toward learning activity and social studies, religion and culture, the mean score of post-test of Prathomsuksa 6 students that used constructivism theory learning activity was higher than pre-test. The mean score of post-test of the group of students that used regular learning activity was higher than pre-test.            To compare learning effectiveness, critical thinking skills and attitudes toward learning activity and social studies, religion and culture, the group of Prathomsuksa 6 students that used constructivism theory learning activity had a higher level of post-test at the statistically significant level of 0.05 than those that used regular learning activity.

Downloads