การสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง พลเมืองดี โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง
Keywords:
จริยธรรม, การพัฒนาจริยธรรม, สังคมศึกษา, กิจกรรมการเรียนการสอน, ทฤษฎีสรรคนิยมAbstract
การศึกษาวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง พลเมืองดี โดยใช้รูปแบบการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ให้ได้ประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เปรียบเทียบคุณธรรม จริยธรรมก่อนเรียนและหลังเรียน และ 3) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/5 โรงเรียนชลกันยานุกูล ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวนนักเรียน 48 คน ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์กรความรู้ด้วยตนเอง แบบสังเกตคุณธรรม จริยธรรม แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และ t-test Dependent ผลการวิจัยพบว่า 1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมของนักเรียน โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน (E1/E2) = 83.10/81.15 2. คุณธรรมจริยธรรมของนักเรียน ที่ใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรม โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาสังคมศึกษา เรื่อง พลเมืองดี โดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวทฤษฎีการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 The objectives of this study were; 1) to develop a learning package using constructivism theory to develop the ethics of Matthayomsuksa 4 students on good citizenship topic to meet the standard criterion of 80/80, 2) to compare the ethics of the students before and after using learning package, 3) to compare learning achievements before and after using learning package. The cluster random sampling was employed to select students from Matthayomsuksa 4 student at Chonkanyanukoon School of semester 2 of academic year 2012, and 48 students in 4/5 class was selected. The research tools were the learning package, the lesson plans by using constructivism theory, observation form in ethics and achievements test on good citizenship. Mean, percentage, standard deviation and t-test dependent were used for data analyses. Results of the study were; 1. The use of learning package to develop the ethics of the sample students on good citizenship using constructivism theory had efficiency of (E1/E2) = 83.10/81.15 2. Students’ ethics scores after learning from the package was significantly higher than the pretest at .01 statistical level. 3. Students’ learning scores on good citizenship topic by using constructivism theory of the posttest was significantly higher than the pretest at .01 statistical levelDownloads
Issue
Section
Articles