การศึกษาความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษาเพื่อวางแผนการผลิตกำลังคนในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง

Authors

  • สุรชัย เทียนขาว

Keywords:

กำลังคนระดับอุดมศึกษา, ภาคกลาง, การวางแผนกำลังคน

Abstract

          การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษา เพื่อวางแผนการผลิตกำลังคนในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 2) เปรียบเทียบความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษาเพื่อวางแผนผลิตกำลังคนในกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 3) เสนอแนะแนวทางในการผลิตกำลังคนระดับอุดมศึกษาที่สอดคล้องกับความต้องการของกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง กลุ่มตัวอย่างเป็นหัวหน้าส่วนราชการระดับจังหวัดและผู้บริหารของสถานประกอบการที่มีทุนจดทะเบียน 30 ล้านบาทขึ้นไปในจังหวัดราชบุรี และสุพรรณบุรี จำนวนทั้งสิ้น 270 คน ผู้ให้ข้อมูลเป็นผู้บริหารในภาคราชการและเอกชน จำนวน 270 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับและแบบปลายเปิด วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติทดสอบที (t-test) และการวิเคราะห์เนื้อหา (content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1)ความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษาด้านสาขาวิชา โดยภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง สาขาวิชาที่มีความต้องการระดับมากที่สุด 2 สาขาวิชา ระดับมาก 44 สาขาวิชา ระดับปานกลาง 27 สาขาวิชา ระดับน้อย 10 สาขาวิชาและน้อยที่สุด 1 สาขาวิชา ส่วนคุณลักษณะของกำลังคนโดยภาพรวมมีความต้องการระดับมาก ด้านที่มีความต้องการมากที่สุด คือ บุคลิกอุปนิสัย 2)เปรียบเทียบความต้องการกำลังคนระดับอุดมศึกษาด้านสาขาวิชา จำแนกตามประเภทของหน่วยงานไม่มีแตกต่างกัน อย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เช่นเดียวกับสถานที่ตั้งของหน่วยงาน ส่วนด้านคุณลักษณะของกำลังคนพบว่าหน่วยงานราชการและหน่วยงานภาคเอกชนมีความต้องการแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 เมื่อจำแนกตามสถานที่ตั้งของหน่วยงานพบว่า แตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ 3) แนวทางการผลิตกำลังคนระดับอุดมศึกษา 3.1 ปรับปรุง/พัฒนาหลักสูตรระดับปริญญาตรี เน้นสาขาวิชาที่มีความต้องการระดับมาก-มากที่สุด 3.2 จัดกิจกรรมเสริมหลักสูตร ครอบคลุมด้านความรู้ทักษะและบุคลิกภาพ อุปนิสัย โดยเน้นด้านบุคลิกภาพอุปนิสัยเป็นลำดับสำคัญลำดับแรก และ 3.3 สถาบันอุดมศึกษาควรร่วมมือกับสถานประกอบการและหน่วยราชการกลุ่มจังหวัดภาคกลางตอนล่าง 1 ในการจัดการศึกษา           The purposes of this study were to 1) study the higher education on manpower needs for manpower production planning in the Lower Central Province Cluster-1 2) compare the differences on higher education on manpower needs of manpower production planning in the Lower central Province Cluster-1 and 3) propose guidelines for manpower production at the higher education on according to demands of the job market. The study samples were the officers of province publics’ organizations and the private executives of companies with a capital exceeding 30 million baht in two provinces in the Lower Central Province Cluster-1 with 270 samples. The respondents were 102 people, being the officers of provincial public organizations by purposive sampling method and 168 private executives of the company with capital exceeding 30 million baht, selected by simple random sampling method. Data were collected by the questionnaires.          The reliability of the questionnaires was 0.96. Statistics used for data analysis were mean, standard deviation and t-test. Data from the open-ended question were analyzed. The research findings by content analysis were: 1) the overall of higher education on for manpower needs of 84 fields was at a moderate level, there were the two fields highest needed and one discipline was at the lowest level. The twenty seven fields were at a moderate level, forty four fields were at a high level and ten fields were at a low level. By overall needs of manpower’s characteristics were at a high level. The characteristic highest needed was the appropriate personality traits. When comparing the manpower needs for all fields by the types of organizations, there was no statistically significant difference at .05. There was no statistically significant difference at .05 by the places of organizations. As to the needs of manpower’s characteristics, there was statistically significant difference at .05 by the types of organizations. By the places of organizations, it was found that there was no statistically significant difference at .05. The proposal for higher education on manpower production consisted of three aspects. They are: 1) the higher education institutions in the Lower Central Province Cluster-1 should improve or develop undergraduate curriculum according to the fields highest and high level needed, 2) providing co-curricular activities or programmes for students should base on the characteristic needs of the province cluster and 3) having agreements with private companies and public organizations in the local area for manpower production.

Downloads