ความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก เพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน
Keywords:
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์, ภาคตะวันออก, การพัฒนาบุคลากร, ทรัพยากรมนุษย์, พนักงานมหาวิทยาลัยAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน 2) เพื่อเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สายการปฏิบัติงาน และประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัย ได้แก่ พนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออก ปี พ.ศ. 2554 จำนวน 335 คน จำแนกเป็น สายคณาจารย์ จำนวน 147 คน และสายสนับสนุนวิชาการ จำนวน 188 คน เก็บข้อมูลจริงได้จำนวน 331 คน คิดเป็นร้อยละ 98.80 เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ ตามสัดส่วนจำนวนประชาการครอบคลุมทุกหน่วยงานในมหาวิทยาลัย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามประมาณค่า 5 ระดับ มีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และทดสอบความแตกต่างรายคู่ด้วยวิธี LSD ผลการวิจัย พบว่า 1) ระดับความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียนโดยรวม มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปน้อย ได้แก่ ด้านการพัฒนา ด้านการฝึกอบรม และด้านการศึกษาต่อ ตามลำดับ 2) ผลการเปรียบเทียบความต้องการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของพนักงานมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในภาคตะวันออกเพื่อเข้าสู่การเป็นประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน จำแนกตาม เพศ อายุ ระดับการศึกษา สายการปฏิบัติงาน และประสบการณ์ทำงาน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ (p < .05) The purposes of this research were to study the needs for human resource development of university employees in the Eastern of Thailand with the coming of the AEC, and to compare the development needs of university employees according to gender, age, education level, work position, and work experience. The research participants were comprised of 335 university employees in the Eastern of Thailand. The instrument used in the study was a Liker T. Scale Questionnaire. Quantitative data from the officers were analyzed according to frequency, percentage, mean, standard deviation, one-way ANOVA, and Least Significant Difference (LSD). The results of this study revealed that the overall needs of the human development was at a high score (X̅ = 4.00, SD = 0.67). When each aspect was considered, it showed that the top three aspects were development, training, and education. Finally, it was found that the needs of university employees were significant difference according to their gender, age, education level, work position, and work experience (p < .05).Downloads
Issue
Section
Articles