การนำนโยบายแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของรัฐบาลไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัย

Authors

  • สุรดา สุโพธิณะ
  • วุฒิ ธวัชธงชัย

Keywords:

ครรภ์, ครรภ์ในวัยรุ่น, นโยบายของรัฐ, การนำนโยบายไปปฏิบัติ

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาการนำนโยบายไปปฏิบัติ ผลสัมฤทธิ์และแนวทางในการพัฒนาการนำนโยบายแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของรัฐบาลในมหาวิทยาลัย กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงคุณภาพ ได้แก่ สามกลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการนำนโยบายไปปฏิบัติ จำนวน 10 ท่าน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ข้อมูลเชิงคุณภาพวิเคราะห์เชิงเนื้อหาโดยการนำข้อมูลที่เกี่ยวข้องมาสรุปใจความสำคัญ ตีความหมายและแยกแยะข้อมูลที่มีความหมายเดียวกันให้อยู่ในเรื่องเดียวกันและสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของการศึกษา กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยเชิงปริมาณ ได้แก่ นักศึกษาระดับปริญญาตรี จำนวน 400 ตัวอย่าง ใช้เครื่องมือ คือ แบบสอบถามแล้ววิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานของข้อมูลเชิงปริมาณด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปเพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์ ผลการวิจัยปรากฏว่า ภาพรวมการนำนโยบายแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของรัฐบาลไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัยมีความสำคัญอยู่ในระดับปานกลาง การนำนโยบายแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของรัฐบาลไปปฏิบัติ ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) มหาวิทยาลัยมีการรับรู้ปัญหาและตอบสนองต่อนโยบายแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของรัฐบาลแต่ไม่มีการประกาศนโยบาย กำหนดภารกิจ มอบหมายงาน สร้างระบบรายงานหรือการวัดผลที่ชัดเจน 2) มีการสร้างแรงจูงใจ หรือความผูกพันในการจัดกิจกรรม โครงการหรือหลักสูตร แต่ไม่มีมาตรฐานการให้คุณให้โทษ 3) มีโครงสร้างการบริหารเป็นแบบไม่มีการสั่งการ 4) มีสมรรถนะของหน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคล งบประมาณ สถานที่ วัสดุอุปกรณ์เทคโนโลยี และ 5) มีการแสวงหาและรับการสนับสนุนจากองค์กรภายนอก ได้ผลลัพธ์ คือ หลักสูตรวิชาการศึกษาทั่วไป บริการให้คำปรึกษา และกิจกรรมรณรงค์เพื่อการปฏิบัติตามกฎระเบียบของนักศึกษานำมาซึ่งผลสัมฤทธิ์หรือผลกระทบในทางบวกที่มหาวิทยาลัยต้องการ ผลลัพธ์กับผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายฯ ไปปฏิบัติมีความสัมพันธ์ในทิศทางบวกที่ระดับปานกลาง และกิจกรรมรณรงค์เพื่อการปฏิบัติตามกฎระเบียบของนักศึกษามีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ของการนำนโยบายฯ มากที่สุด แต่ยังมีนักศึกษามากกว่าครึ่งหนึ่งที่อยู่ด้วยกันฉันท์สามีภรรยาและไม่ได้ป้องกันการตั้งครรภ์ทำให้ประสบปัญหาโดยไม่มีข้อมูลการรับบริการให้คำปรึกษาเกี่ยวกับเรื่องนี้ และผู้ให้ข้อมูลสำคัญให้ความเห็นว่าแนวทางเพื่อพัฒนาการนำนโยบายแก้ปัญหาการตั้งครรภ์ในวัยรุ่นของรัฐบาลไปปฏิบัติในมหาวิทยาลัย ควรให้ความสำคัญต่อปัญหาการตั้งครรภ์รวมถึงความต้องการที่แท้จริงของนักศึกษา อาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายในการเข้าถึงปัญหา สร้างระบบและบริหารฐานข้อมูลกลาง ประกาศนโยบายหรือแผนงาน กำหนดวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่ชัดเจนแล้วมอบหมายให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องรับไปปฏิบัติ กำหนดโครงสร้างการบริหารงาน สร้างความเข้าใจให้ตรงกันระหว่างผู้บริหารและผู้ปฏิบัติวางระบบการประเมินผล กำหนดมาตรฐานการให้คุณให้โทษ และใช้สมรรถนะของหน่วยงานด้านทรัพยากรบุคคล งบประมาณ สถานที่ วัสดุอุปกรณ์ เทคโนโลยีที่มีอยู่อย่างเต็มที่และแสวงหาการสนับสนุนจากภายนอกให้มากขึ้น           Three objectives of this research are to study Implementation of Government’s Policy on Solving the Unwanted Pregnancy Problem among the Youths in University, The Outcome and The Conceptual Approach to Promote Implementation. Methodology was mixed between Qualitative and Quantitative study. Structural Interview Questionnaire has been used for qualitative data collected from 10 keys information, Purposive Selected from the steak holder by structured-in-dept-interview. Qualitative Data were analyzed by descriptive interpretation. Relevant information was summarized and classified in accordance to the objectives. As for quantitative research, Data has been collected from 400 samples, Accidental Selected from the bachelor-degree students by questionnaires and these data were analyzed through the Computers Program for Social science research. The results of this research as following: Implementation of Government’s Policy on Solving the Unwanted Pregnancy Problem among Youths in University. Overview, with priority on medium level and comprises 5 elements which are 1) perception the problem situation and responds to the Government’s Policy by giving flexibility on the rules and regulations, allowing the students who experience difficulty getting pregnant can continue studying until graduated. However, there is neither formal announcement of policy, responsibility and delegation of duty nor evaluation and reporting system. 2) Although there was operations, the defined objectives, Motivation or engagement in activity, project or course of this implementation, but reward or punishment’s system has not been applied. 3) Administrative structure is not formal, based on individual judgment of the administrator and agreement from the implementator. 4) Availability competency of agency resources. Humans, budgets, materials, equipments and technology. 5) seeking support from external organizations. The Output on the Implementation of this policy in university such as the general education curriculum. Consulting Services And outreach activities for the students to follow the rules. Which causes Achievement or positive impact on the university needs. The organized campaign to follow the rules of the University, which is the most associated with the achievement of the government’s policy solution to solving youths pregnancy in the most practical and students who participated were satisfied with this without storage data system or clear evaluation. There were also major contributors Comments on guidelines for the development of the implements of this government’s policy to solving unwanted youths pregnancies. Should give more priority to issues of students pregnancy by creating an understanding with synchronization between managements and practitioners, Announce and formal policy planning, Setting an evaluation system, clear goals, objectives. And then assigned to the relevant authorities for action, Promote acceptance and cooperation of all parties to reach the problem and the real support needs of students. Create a system to store and manage the data into a central database, Standard to reward and punishment system. Defining the management structure and utilized performance all available resources fully, more seeking support and continuously collaborate with External organizations.

Downloads