การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือกันสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต

Authors

  • กฤษณี สงสวัสดิ์
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์
  • สุนทร บำเรอราช

Keywords:

การทำงานกลุ่มในการศึกษา, ระบบการเรียนการสอน, ครุศาสตร์, การศึกษาและการสอน

Abstract

          การวิจัยครั้งมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1)พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือกันสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต และ 2) เพื่อศึกษาผลการใช้รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น การดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 2 ระยะคือ ระยะที่ 1 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอน ระยะที่ 2 การทดลองใช้และประเมินประสิทธิผลของรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้น ทดลองใช้กับนักศึกษามหาวิทยาลัยสุราษฎร์ธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2555 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) คู่มือการใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือกันสร้างความรู้สำหรับนักศึกษาหลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต 2) แผนการจัดการเรียนรู้ 3) แบบทดสอบวัดความรู้เนื้อหารายวิชายุทธศาสตร์เชิงบูรณาการเพื่อการจัดการเรียนรู้ 4) แบบประเมินทักษะการสร้างความรู้ 5) แบบประเมินทักษะความร่วมมือกันเรียนรู้ และ 6) แบบวัดเจตคติต่อรายวิชา การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์ความแปรปรวนร่วม ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1. รูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด (X̅ = 4.56, SD = .049) ประกอบด้วย 5 องค์ประกอบ ที่สำคัญคือ หลักการของรูปแบบวัตถุประสงค์ของรูปแบบกระบวนการเรียนการสอน เนื้อหาสาระการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล และมี 5 ขั้นตอนในการสร้างความรู้ คือ 1) การตรวจสอบความรู้เดิมและกระตุ้นความคิด 2) การนำเสนอความรู้ใหม่และวางแผนการเรียนรู้ 3) การสืบค้นข้อมูลและแลกเปลี่ยนเรียนรู้ 4) การนำเสนอผลและจัดโครงสร้างความรู้ และ 5)การประยุกต์ใช้และประเมินผลการเรียนรู้          2. ผลการทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนตามแนวการเรียนรู้แบบร่วมมือกันสร้างความรู้ พบว่า 1) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะการสร้างความรู้โดยรวมสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยทักษะความร่วมมือกันเรียนรู้โดยรวมสูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยด้านความรู้เนื้อหารายวิชาไม่สูงกว่าผู้เรียนกลุ่มควบคุมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ 4) ผู้เรียนกลุ่มทดลองมีคะแนนเฉลี่ยเจตคติต่อรายวิชาโดยรวมอยู่ในระดับมาก          The purposes of this study were 1) to develop an instructional model based on cooperative learning and knowledge construction for undergraduate students. And 2) to study the results of the instructional model that were developed. The research procedure was divided into two phases. The first phase was the development of instructional model. In the second phase, trial was used to evaluate the effectiveness of the instructional model which implemented to undergraduate students of Suratthani Rajabhat University studying in the second semester of academic year 2012. The research instruments were 1) handbook of instructional model based on cooperative learning and knowledge construction for undergraduate students, 2) lesson plan, 3) the knowledge test of Strategies for Integrated Learning subject, 4) the evaluation of knowledge construction skills, 5) the evaluation of cooperative learning skills, and 6) the test of attitude towards the subject. The collected data were analyzed by arithmetic mean, standard deviation, t-test, and ANCOVA. The findings of this study were as follows:          1. The developed instructional model which improved, the overall performance was at the highest level. (X̅ = 4.56, SD = .049) It consisted of five components: 1) principles, 2) objectives, 3) the instructional process, 4) contents, and 5) measurement and evaluations. Eight steps to create knowledge included: 1) verify knowledge and stimulate thinking, 2) presentation of new knowledge and plan learning, 3) search and knowledge sharing, 4) present the results and Cognitive structure, and 5) application and evaluation of learning          2. Results of trial instructional model based on cooperative learning and knowledge construction which compared by the results of learning, findings as follows:               1) The experimental group students had overall higher average scores of knowledge construction skills than the control group with statistically significant at the 0.5 level.               2) The experimental group students had overall higher scores of cooperative learning skills than the control group with statistically significant at the 0.5 level.               3) The experimental group students’ average scores of subject content knowledge were not higher than the control group.               4) The experimental group students who had an average score had attitude towards their subject score after trial would be at good level

Downloads