การพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์เรื่อง การดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • ชลธิชา หังเสวก

Keywords:

วิทยาศาสตร์, การศึกษาและการสอน, มัธยมศึกษา, กิจกรรมการเรียนการสอน

Abstract

          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 70/70 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 4) เพื่อศึกษาเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนเทศบาลบ้านย่านยาว สังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จำนวน 46 คน ได้มาโดยวิธีการสุ่มแบบกลุ่ม รูปแบบการทดลองคือ One Group Pretest Posttest Design เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 5 ชุด คู่มือครู แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่ายระหว่าง .30-.77 และค่าอำนาจจำแนกระหว่าง .38-1.00 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .93 และแบบสอบถามการวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ .33-.60 และค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานและการทดสอบค่า t ผลการวิจัยพบว่า 1) ชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ 83.86/80.56 2) ชุดการสอน กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.7039 หรือคิดเป็นร้อยละ 70.39 3) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ได้รับการสอนด้วยชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 4) เจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนที่มีต่อชุดการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่องการดำรงชีวิตของพืช สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 อยู่ในระดับมาก           The purposes of this research were to 1) develop instructional packages on plant life in Science Strand for Mathayom Suksa I, based on the criteria of 70/70 2) A study of the effectiveness index of the instructional packages on plant life 3) Compare the pupils’ achievement before and after using the instructional packages on plant life. 4) A study the attitude towards science of students with the instructional packages on plant life. The samples used in this study were 46 Mathayom Suksa I/I student of Banyanyao Municipal School, Takupa Municipality, Phang-nga Province. A one group, pretest design was use for the study. The research tools were the instructional packages on plant life, the achievement test constructed by the researcher the test difficulty indices range from .30-.77, the discrimination indices range form .38-1.00, and the reliability value was .93 and attitude towards science questionnaire the discrimination indices range form .33-.60, and the reliability value was .80. The collected data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and t-test. The research findings were as follows: 1) The instructional packages on plant life were efficient since the criteria were found at 83.86/80.56. 2) The instructional packages on plant life, effectiveness index were found at 0.7039 or 70.39 percentage. 3) It was found that the pupils’ achievement after using the instructional packages on plant life was statistically higher than that before using them at .01 level of significance. 4) The students’ level of attitude towards the instructional packages on plant life was at the high level. 

Downloads