การวิจัยและพัฒนากระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกันเพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครู สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย

Authors

  • ศิรประภา พฤทธิกุล

Keywords:

การนิเทศการศึกษา, การศึกษาปฐมวัย, การบริหารการศึกษา. การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน

Abstract

          การศึกษาเชิงคุณภาพนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิจัยและพัฒนากระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน และเพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการนิเทศที่มีต่อการส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้และความพึงพอใจของนิสิต ขั้นตอนการดำเนินการวิจัยแบ่งได้ 4 ระยะ ได้แก่ การสร้าง การทดลองใช้ การนำไปใช้จริง และการนำเสนอรวมระยะเวลาทั้งสิ้น 1 ปี 10 เดือน ผู้เข้าร่วมการวิจัยคือนิสิตฝึกประสบการณ์วิชาชีพครูสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา รวมจำนวน 17 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ แบบประเมินสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ แบบประเมินความพึงพอใจ และแบบบันทึกข้อมูลเชิงคุณภาพ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการแจงนับ ร้อยละ และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้          1.กระบวนการนิเทศตามแนวการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน มีโครงสร้างประกอบด้วย 1) แนวคิดพื้นฐานของกระบวนการฯ ได้แก่ การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ การพัฒนาบทเรียนร่วมกัน การเรียนรู้แบบร่วมมือ การสะท้อนความคิด และทฤษฎีวัฒนธรรมเชิงสังคม 2) หลักการพื้นฐานของกระบวนการฯ ได้แก่ นิสิตมีบทบาทหลักในการชี้นำตนเอง สะท้อนความคิด สร้างองค์ความรู้ในฐานะผู้ปฏิบัติ ภายใต้วงจรเกลียวเวียนแห่งการทำงานกลุ่มแบบร่วมมือกันอย่างลุ่มลึกและต่อเนื่อง โดยอาจารย์นิเทศเป็นกัลยาณมิตรสนับสนุน กระตุ้นให้คำปรึกษา 3) วัตถุประสงค์ คือ เพื่อส่งเสริมสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ 4) เนื้อหาประกอบด้วย การจัดประสบการณ์การเรียนรู้สำหรับเด็กอนุบาลและกระบวนการพัฒนาบทเรียนร่วมกัน 5) ขั้นตอนของกระบวนการแบ่งได้ 6 ระยะ ได้แก่ กำหนดบทเรียน วิจัยบทเรียน วิจัยบทเรียน อภิปรายบทเรียน วิจัยบทเรียนรอบที่สอง และรวบรวมการเรียนรู้ 6) ลักษณะของกลุ่มพัฒนาบทเรียน เป็นการทำงานแบบร่วมมือที่สมาชิกทุกคนมีส่วนร่วมทุกขั้นตอนของกระบวนการอย่างเคารพความเท่าเทียมกัน 7) การประเมินผล ได้แก่ การประเมินตามมาตรฐานสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิต          2. ผลการดำเนินงานกระบวนการนิเทศฯ พบว่า 2.1) ช่วยพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของนิสิตดังนี้ 2.1.1) เมื่อเปรียบเทียบก่อนและหลังเข้าร่วมกระบวนการฯ นิสิตร้อยละ 100 พัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้สูงขึ้นตั้งแต่ 1-4 ระดับ ทุกหน่วยสมรรถนะ 2.1.2) หลังเข้าร่วมกระบวนการฯ นิสิตมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับ 3 ขึ้นไป ร้อยละ 100 ใน 17 หน่วยสมรรถนะ และ ร้อยละ 94.12 ในอีก 1 หน่วยสมรรถนะตามลำดับ และ 2.2) นิสิตร้อยละ 100 มีความพึงพอใจต่อการเข้าร่วมกระบวนการฯ ระดับมากขึ้นไปทุกตัวบ่งชี้          The purposes of this qualitative study were to research and develop the supervision process through a lesson study approach, and to study the effects of supervision process on practicum students’ learning organization competency and satisfaction. The research procedure was divided into 4 phases which comprised: the construction; the experimentation; the implementation; and the presentation; and it lasted for 22 months. The research participants were 17 early childhood practicum students, from the faculty of education, Burapha University, in the academic year 2013 and 2014. The research instruments were competency assessment forms of learning organization, satisfaction assessment forms, and the qualitative field notes. The data analyzed using tally, percentage, and content analysis. The research findings were as follows:          1.The supervision process through lesson study approach consisted of 1) fundamental concepts: which were child-centered; lesson study approach; collaborative learning; reflective thinking; and socio-cultural learning, 2) fundamental principles: which were to enhance active, self-directed, self-reflected, and construct practitioner knowledge; based on spiral cycle of continuity and deep collaborative learning by scaffolding support and coaching from the supervisor, 3) the purpose which was to enhance learning organization competency, 4) content consisting of learning experience organization for kindergarten; and lesson study process, 5) the process procedure was divided into 6 phases which comprised: focusing on the lesson; research lesson; lesson discussion; research lesson, again; lesson discussion, again; and consolidation of learning, 6) the characteristic of the lesson study group was collaborative in which all members participated in every steps respectively and equally; and 7) assessment involved evaluating learning organization competency standard.          2. In implementing the supervision process, it was found that 2.1) the participants improved their learning organization competency as follows: 2.1.1) 100% of the participants improved their learning organization competency by 1-4 level in all the unit of competence when comparing ‘pre’ and then ‘post’ implementing, 2.1.2) After the implementing, 100% of the participants improved their learning organization competency at level 3 up for the 17 unit of competence. Only one unit of competence was by 94.12% of the participants. In addition, 2.2) 100% of the participants had their participation satisfaction measured at level ‘good’ up in all the indicatiors.

Downloads