ผลการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทที่มีต่อความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
Keywords:
การเขียนเชิงสร้างสรรค์, กิจกรรมการเรียนการสอนAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน 2) เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 เมื่อได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท และ 3) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทกับเกณฑ์ร้อยละ 80 กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนมัธยมวัดสิงห์ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 1 จำนวน 40 คน ที่ได้มาจากการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้การสอนเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ตามทฤษฎีสหบท จำนวน 4 แผน ใช้เวลาคาบละ 50 นาที และ 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ แบบอัตนัย สำหรับใช้ในการทดสอบความสามารถทางการเรียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ก่อนเรียนระหว่างเรียน และหลังเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ One Way ANOVA, Repeated Measures, One sample t-test, t-test dependent และการวิเคราะห์ข้อมูลจากผลงานนักเขียน ผลการวิจัยพบว่า 1. ความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 2. พัฒนาการความสามารถในการเขียนร้อยกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 สูงขึ้นหลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบท 3. ความสามารถในการเขียนร้องกรองเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 หลังจากได้รับการจัดการเรียนการสอนตามทฤษฎีสหบทสูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 80 The objectives of this research were to 1) study the grade-twelve students’ abilities in creative poetry writing before and after using the intertextuality approach, 2) The effectiveness of intertextuality approach for enhancing the students’ ability in creative poetry writing. 3) study the grade-twelve students’ abilities in creative poetry writing after the employment of the intertextuality approach with the achievement criteria of 80%. The samples of 40 grade-twelve students of Mathayom Wat Sing School under the Office of Education al Service Area 1 were purposively selected. The research tools used were 1) the four 50-minute lesson plans of creative poetry writing based on intertextuality approach, 2) The written test to evaluate the student’s abilities in creative poetry writing before and after employment of the intertextuality approach. One-way ANOVA, repeated measures, one sample t-test” and analyzing data were used from the student’ abilities. One-way ANOVA, repeated measures, one sample t-test, t-test dependent data and analyzing were used from the student’ abilities. The results of the research were as follows; 1. The students’ abilities in writing creative poetry after using the intertexuality approach were higher and significantly different from the abilities before using the intertexuality approach at the level of .01. 2. The development of the student’ abilities in writing creative poetry was higher after using the intertexuality approach. 3. The abilities in creative poetry writing of the samples taught with intertexuality approach were higher than the achievement criteria of 80%.Downloads
Issue
Section
Articles