ความคิดเห็นต่อการจัดการศึกษาในหลักสูตรเน้นการวิจัย คณะบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี

Authors

  • สุภาวดี ขุนทองจันทร์
  • อุทัย อันพิมพ์
  • สุขวิทย์ โสภาพล

Keywords:

มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี คณะบริหารศาสตร์, การบริหารการศึกษา, วิจัย

Abstract

          งานวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาระดับความคิดเห็นของนักศึกษา บุคคลทั่วไป ผู้ใช้บัณฑิตต่อการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต และปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ แบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยวิธีการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน          ผลการวิจัยพบว่า ความคิดเห็นจากประชาชนทั่วไปต่อหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ มีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอน โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดร้อยละ 80.00 หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ มีความพึงพอใจมากที่สุดร้อยละ 75.00 ความคิดเห็นของนักเรียนศึกษาต่อหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ โดยรวมอยู่ในระดับที่มากทุกด้าน ส่วนความคิดเห็นของผู้ใช้มหาบัณฑิตและดุษฎีบัณฑิตหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ อยู่ในระดับที่มากที่สุดทุกด้านและทุกข้อ แสดงให้เห็นว่าการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิตและปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนบูรณาการศาสตร์ ได้ตอบสนองความต้องการทั้งของผู้เรียน และผู้ใช้บัณฑิตอย่างแท้จริง          The purpose of this research was to study about the level the opinion of students, stakeholders and of the bosses of the graduates toward the instruction of two curriculums; Master of Arts program in Integral Development Studies and Doctor of Philosophy Program in Integral Development Studies. The questionnaires were used as a research tool for this research where the frequency distribution, percentage, mean and standard deviation were used for data analysis.          It was found that 80% of the opinions of the stakeholder and 75% the opinions of the students toward the instruction of the curriculum of Master of Arts and the instruction of Doctor of Philosophy Program in Integral Development Studies respectively showed the highest level of satisfaction where the opinions of the graduate students toward both curriculums showed the high level of satisfaction in all aspects. Moreover, the opinions of the bosses of the graduates showed the highest level of satisfaction in all aspects and all items.          As the result of the research, it showed that both curriculums response to the need of both students and the bosses of the graduates.

Downloads