โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา
Keywords:
พฤติกรรมองค์การ, ความผูกพันต่อองค์การ, ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง, การรับรู้, ครูAbstract
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาระดับการศึกษาการรับรู้ความยุติธรรม คุณลักษณะบุคลิกภาพ ภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง ความผูกพันต่อองค์การ และพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 2) เพื่อสร้างโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครู 3) เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลความเชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยจำนวน 460 คน ปีการศึกษา 2557 สุ่มตัวอย่างจากครูโรงเรียนมัธยม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา 5 ภูมิภาค จำนวน 369 โรงเรียน เครื่องมือวิจัยเป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยค่าสถิติพื้นฐาน ค่าสหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน ลำการวิเคราะห์ตัวแบบสมการโครงสร้าง ผลวิจัยพบว่า 1) แบบจำลองความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การของครู สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ = 100.93, df x2= 112, p = 0.76, CFI = 0.99, RMSEA = 0.00 2) ตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ และคุณลักษณะของบุคลิกภาพสำหรับตัวแปรที่มีอิทธิพลทางตรงต่อความผูกพันต่อองค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ การรับรู้ความยุติธรรมในองค์การ คุณลักษณะบุคลิกภาพ และภาวะผู้นำการเปลี่ยนแปลง และตัวแปรความผูกพันต้อองค์การ มีอิทธิพลทางตรงต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ส่วนตัวแปรที่มีอิทธิพลทางอ้อมต่อพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีขององค์การอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ได้แก่ คุณลักษณะบุคลิกภาพ โดยมีอิทธิพลทางอ้อมผ่านความผูกพันต่อองค์การ 3) ตัวแปรทั้งหมดในแบบจำลองที่พัฒนาขึ้นสามารถใช้อธิบายความแปรปรวนของพฤติกรรมการเป็นสมาชิกที่ดีต่อองค์การได้ร้อยละ 55 The objectives of this research were develop a causal relationship model of organizational citizenship behavior of teacher in secondary education service and to validate the model with the empirical data. A sample of 460 was randomly elected from 89,338 teachers from 42 Secondary Education Services department heads in secondary schools. Five latent variables, namely: perception of organizational justice, personality trait, transformational leadership, organizational citizenship behavior and organizational commitment were measured from 23 visible variables. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. The data was analyzed employing descriptive statistics, Pearson correlation, Confirmatory Factor Analysis (CFA) and Structural Equation Model (SEM) The findings could be summarized as follows: 1) The adjusted model was consistent with empirical data. Goodness of fit measures were found to be x2 = 100.93, df = 112, p = 0.7640, RMSEA = 0.000 2) Variables having a statistically significant direct effect on organizational citizenship behavior were perception of organizational justice and personality trait. Variables having a statistically significant direct effect on organizational commitment were perception of organizational justice, personality trait and transformational leadership. Organizational commitment variables having a statistically significant direct effect on organizational citizenship behavior. Personality trait had indirect effects, through organizational commitment, on organizational citizenship behavior. 3) The variables in adjusted model accounted for 55 percent of the variance in organizational citizenship behavior.Downloads
Published
2023-02-28
Issue
Section
Articles