การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี และความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD

Authors

  • นีรนุช พวงขาว
  • สพลณภัทร์ ศรีแสนยงค์
  • ภัทรกร ชัยประเสริฐ

Keywords:

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน, การเรียนรู้ร่วมกัน, การแก้ปัญหา, วิทยาศาสตร์ - - การศึกษาและการสอน (มัธยมศึกษา)

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี และ 2) ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัย ชลบุรี จำนวน 24 คน ด้วยวิธีแบบสุ่มแบบกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมมือเทคนิค STAD ในหัวข้อเรื่อง ของแข็ง ของเหลว แก๊ส แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี มีค่าความเชื่อมั่น 0.08 ค่าความยากง่าย 0.22-0.66 ค่าอำนาจจำแนก 0.29-0.86 และแบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ มีค่าความเชื่อมั่น 0.75 ค่าความยากง่าย 0.22-0.78 ค่าอำนาจจำแนก 0.35-0.93 แบบแผนการทดลองที่ใช้ คือ แบบกลุ่มเดียวทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน ( One group pretest posttest drsign) วิเคราะห์ข้อมูลโดยเปรียบเทียบความแตกต่างค่าเฉลี่ยของคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมี และความสามรถในการคิดแก้ปัญหาวิทยาศาสตร์ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้สูตร (t-test) แบบ Dependent sample ผลการวิจัย พบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาเคมีของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และ 2) ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้เชิงรุกร่วมกับการเรียนแบบร่วมเทคนิค STAD หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purpose of this research were 1) to study learning achievement in chemistry and 2) to study scientific problem solving ability of grade 10 students using active learning and the STAD technique. The participants were grade 10 student at Princess Chulabhon’s College Chonburi (n = 24), selected by using the cluster random sampling. The research instruments consisted of active learning and the STAD technique lesson plans in the topic of solid, liquid, and gas, a chemistry learning achievement test, and a scientific problem solving ability test, The collected data were statistically analyzed by using dependent sample t-test. The results of this research were as follows: 1) The chemistry learning achievement for grade 10 stedent taught by avtive learning and the STAD technique after learning was significantly higher than before learning (p>05). And 2)The scientific problem solving ability for grade 10 students taught by active learning and the STAD technique after learning was significantly higher than before learning (p<05).

Downloads