การพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามกระบวนการเรียนรู้ของกาเย่ เรื่อง การออกแบบสารเพื่อการจำ รายวิชาการออกแบบสารสำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา

Authors

  • ศักดา สุจริต
  • ดวงพร ธรรมะ
  • นคร ละลอกน้ำ

Keywords:

หนังสืออิเล็กทรอนิกส์, สื่อการสอน, สื่อการสอน - - การออกแบบ

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามกระบวนการเรียนรู้ของกาเย่ เรื่องการออกแบบสารเพื่อการจำ รายวิชาการออกแบบสาร สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 standard) และเพื่อเปรียบเทียบคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนของผู้เรียนที่เรียนด้วยหนังสืออิเล็กททรอนิกส์ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา ที่ลงทะเบียนเรียนรายวิชาการออกแบบสาร ในปีการศึกษา2557 โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 30 คน เครื่องมือที่จัย ได้แก่ 1) หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ตามกระบวนการเรียนรู้ของกาเย่ เรื่อง การออกแบบสารเพื่อการจำ รายวิชาการออกแบบสาร สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรีสาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา และ 2) แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน สถิติในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ การวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ และการทดสอบค่า t (t-test Dependent sample) ผลการวิจัยพบว่า หนังสืออิเล็กทรอนิกส์ ตามกระบวนการเรียนรู้ของกาเย่ เรื่อง การออกแบบสารเพื่อการจำรายวิชาการออกแบบสาร สำหรับนิสิตระดับปริญญาตรี สาขาวิชาเทคโนโลยีการศึกษา มีประสิทธิภาพ 92.83/93.33 ซึ่งเป็นไปตามเกณฑ์มาตรฐาน 90/90 (The 90/90 Standard) และคะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The purposes of this research were to develop electronic book based on Gagne learning process in the topic “Message Design for Retention” for educational technology undergraduate students to meet the 90/90 standard criteria and to compare the pre-test scores and the post-test scores of the students learning after learning with the developed eleteonic book. The samples were 30 educational Message Design in the year 2014, they were purposively selected to participate in the study. The research instruments were 1) electronic book on message design for retention based on based on Gagne learning process and 2) a pre-test, a post-test. The statistics used for the data analyses were mean, standard deviation and t-test for dependent sample. The research results revealed that efficiency of the electronic book was 92.83/93.33 which meet the set standard 90/90 and and the posttest scores was significantly higher than the pretest score at the .05 level of statistics signficant

Downloads