การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมเอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึกสำหรับการพัฒนาทักษะการวิจัยด้านการคิดเชิงเหตุและผลของนักศึกษาเครือข่ายมหาวิทยาลัยราชภัฏ

Authors

  • มณฑา จำปาเหลือง

Keywords:

วิจัย, ทักษะทางการคิด, เอกสารประกอบการสอน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาและวิเคราะห์ลำดับขั้นการรับรุ้ระดับความากง่ายของนวัตกรรม เอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึก และพัฒนาและเปรียบเทียบทักษะการวิจัยด้านการคิดเชิงเหตุผลและผลของนักศึกษา มหาวิทยาลัยราชภัฏเพรชบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย นักศึกษาชั้นปีที่3 สาขาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ รวม 148 คน การดำเนินการวิจัยใน 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาทบทวนผลการทดลองใช้เอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึกในปี 2556 และเรียงลำดับชุดแบบฝึก 2) การดำเนินการสร้างและพัฒนา โดยการวิเคราะห์ลำดับขั้นการรับรู้ระดับความยากง่ายของนวัตกรรมเอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึก และ 3) การใช้นวัตกรรมโดยการทำวิจัยในชั้นเรียนด้วยการใช้แบบแผนการวิจัย One Shot Case Study โดยการทดลองใช้ตามลำดับการพัฒนาจากขั้นตอนที่ 1 การบอกองค์ประกอบของการคิดเชิงเหตุและผลของระบบ ขั้นตอนที่ 2 การสร้างความสัมพันธ์ระหว่างองคืประกอบของการคิดเชิงเหตุผล และขั้นตอนที่ 3 การประยุกต์ใช้การคิดเชิงเหตุผลและผลในการแก้ปัญหา โดยให้ทำในชั้นเรียนปกติอย่างต่อเนื่อง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ นวัตกรรมเอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึกจำนวน 14 แบบฝึกการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยสถิติ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ และการวิเคราะห์ความแปรปรวนผลการวิจัยพบว่า 1. มีการสร้างแบบฝึกเพิ่มเติมจาก 12 แบบฝึก เป็น 14 แบบฝึก แบบฝึกถูกเรียงลำดับเป็น 3 ชุด โดยขั้นตอนที่ 1 ได้แก่ แบบฝึกที่ 1-7 ส่วนขั้นตอนที่ 2 ได้แก่ แบบฝึกที่ 8-11 และขั้นตอนที่ 3 ซื่งสร้างขึ้นใหม่ ได้แก่ แบบฝึกที่ 12-14 และการวิเคราะห์ลำดับขั้นการรับรู้ระดับความยากง่ายของนวัตกรรมเอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึก ตามความคิดเห็นของนักศึกษาสาขาภาษาไทย ชั้นปีที่ 4 พบว่า ค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ในระดับยากมาก (x̅ = 3.74)และเรียงลำดับจากง่ายไปหายาก ได้แก่ จากแบบฝึกขั้นที่ 1 อยู่ในระดับยากปานกลาง (x̅ = 3.11)แบบฝึกขั้นที่ 2 ยากมาก (x̅ = 3.90) และแบบฝึกขั้นที่ 3 ยากมาก (x = 3.74) 2. ค่าเฉลี่ยของการพัฒนาทักษาการวิจัยด้านการคิดเชิงเหตุและผลด้วยนวัตกรรมเอกสารประกอบการสอนประเภทแบบฝึก พบว่า เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ในขั้นที่ 1 ได้แก่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี และมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ห้อง 7) (ห้อง 5) และ (ห้อง 6) ในขั้นที่ 2 ได้แก่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ห้อง 7) มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราชมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ห้อง 5 ) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ห้อง 6) และในขั้นที่ 3 ได้แก่ นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ห้อง 7)  มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ห้อง 5) มหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรีมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ห้อง 6) และมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช โดยค่าเฉลี่ยใน ขั้นที่ 1 ของนักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ห้อง 6 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี มีค่าเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในขั้นที่ 2 นักศึกษาสาขาคณิตศาสตร์และคอมพิวเตอร์ ห้อง 6 ของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช และ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี (ห้อง 7) มีค่าเฉลี่ยแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และในขั้นที่ 3 ค่าเฉลี่ยไม่แตกต่างกัน นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีซึ่งไม่ได้ผ่านการสอบคัดเลือกเข้าศึกษา เมื่อมีการทำวิจัยในชั้นเรียนอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง จะทำให้ได้รับการพัฒนาการคิดเชิงเหตุและผลในการแก้ปัญหาเพิ่มมากขึ้น The objective of this research were to develop and analyze a hierarchy of perception difficulty difficulty levels of exercises as a teaching material innovation, and to develop and compare research skills of students at PhetchaburiRajabhat University, KanchanaburiRajabhat University, and Nakhon Si ThammaratRajabhat University in the aspect of logical thinking by using exercises as a teaching material innovation. The research samples consisted of 148 third year students, majoring in mathematics and computer. There were three steps in conducting this research,namely 1) studying and reviewing the result of experiment on exercises as teaching material innovation in 2013 and ranking a set of exercises, 2) constructing and developing exercises through analyzing a hierarchy of difficulty level perception of exercises as teaching material innovation, and 3) innovation implementation by doing classroom action research using One Shot Case Study. There were three developmental steps in experiment, i. e. step1 identification of logical thinking elements, step 2 construction of relationship among those elements, and step 3 application of logical thinking in problem solving, by having students continuously practice in normal classes. The research tools were exercises as a teaching material innovation consisting of 14 exercises for practice. The quantitative data were analyzed by using mean, percentage of variance. The research results were as follows: 1. More exercises were constructed from 12 to 14 exercises, and they were arranged into 3 sets for using in 3 steps, i.e. the first and second sets consisthing of exercises 1 to 7 and 8 to 11, respectively, and the third set, newly, constructed, consisting of exercises 12 to 14. In analyzing a hierarchy of difficulty level perception of exercises as a teaching material innovation according to the opinion of fourth year students majoring in Thai Language, it was found that the mean scores were overall at a very difficult level (x̅ = 3.74). When step 1 to step 3 were considered, the difficulty could be ranged from low to hight levels as follows: the moderate difficulty (x̅ = 3.11) in step 1, and very difficult in step 2 and 3, (x̅ = 3.90) and (x̅ = 4.30), respectivelt. 2. The mean scores of students being developed on research skill in the aspect of logical thinking through exercises as a teaching material innovation in step 1 could be ranged in descending order as follows: those of students from Nakhon Si Thammarat, Kanchanaburi, andPhetchaburiRajaphat Universities, (class 7), (class 5), and (class 6), whereas in step2, those of students from class 7 of Phetchaburi , Nakhone Si Thammarat, class 5 of Phetchaburi, Kanchanaburi and from class 6 of PhetchaburiRajabhat Universities, and in step3, those of students from class 7 and class 5 of P hetchaburi, Kanchanaburi, class 6 of Phetchaburi and Nakhon Si Thammarat and KanchanaburiRajabhat Universities and in step 2 those of students in class 6 of Phetchaburi and Nakhon Si ThammaratRajabhat Universities and class 7 of PhetchaburiRajabhat University were both different with statusrical significance at the .05 levels, whereas those in step 3 were different without statistical significance The student of  PhetchaburiRajabhat University who has not passed the admission, when they received to do classroom action research by using exercises systematically. The result of developing will be increasing from low to high levels in aspect of logical thinking in problem solving.

Downloads