การพัฒนากระบวนการสืบทอดภูมิปัญญาการทอผ้าไหมพื้นบ้านในกลุ่มชาวไทยกูย อีสานใต้.

Authors

  • ชัยสิทธิ์ คุณสวัสดิ์
  • ศรีวรรณ ยอดนิล
  • สมหมาย แจ่มกระจ่าง

Keywords:

ภูมิปัญญาชาวบ้าน - - ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), การทอผ้า - - ไทย (ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ), กูย

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาบริบทชุมชน และความเป็นมาการทอผ้าไหมพื้นบ้าน ศึกษากระบวนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านดั้งเดิม และพัฒนาลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่ยังคงเอกลักษณ์ ชุมชนชาวไทยกูยอีสานใต้ ในพื้นที่ 3 จังหวัดของอีสานใต้ ได้แก่ ชุมชนหมู่บ้านอาลึ จังหวัดสุรินทร์ ชุมชนหมู่บ้านดงกระทิง จังหวัดบุรีรัมย์ และชุมชนหมู่บ้านตาโกน จังหวัดศรีสะเกษ โดยการสัมภาษณ์เจาะลึก การระดมสมอง การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ และปฏิบัติการพัฒนากระบวนการอนุรักษ์ลวดลายผ้าไหมบ้านของชาวไทยกูย วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า 1.ชุมชนชาวไทยกูยอีสานใต้ ตั้งอยู่บนที่ราบสูงแอ่งโคราช ได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้และลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ มีความอุดมสมบูรณ์ มีวัฒนธรรมที่สร้างความสัมพันธ์ของคนในชุมชนยึดมั่นในวัฒนธรรมประเพณี และความเชื่อที่สืบทอดมาจากบรรพบุรุษ มีการพัฒนาและเปลี่ยนแปลงตามสภาพสังคมระบบทุนนิยม มีประเพณีและวัฒนธรรมสืบทอดต่อกันมา มีการทอผ้าไหม เมื่อว่างจากการทำนา โดยการปลูกหม่อน เลี้ยงไหม และทอผ้าเป็นอาชีพเสริม 2.กระบวนการอนุรักษ์ ฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านดั้งเดิม ของชุมชนชาวกูยในอีสารใต้ ดำเนินการโดย การวางแผนการปฏิบัติ การมีส่วนร่วมในการวางแผนการทำงานและมีผู้รับผิดชอบ โดยมีขั้นตอนเตรียมการขั้นตอนการประชุมวางแผนการปฏิบัติการฟื้นฟูภูมิปัญญาการทอผ้าไหม ขั้นตอนการมอบหมายผู้รับผิดชอบในแต่ละกิจกรรมเกิดการปฏิบัติฟื้นฟูลวดลายผ้าไหมดั้งเดิมที่สูญหายโดยการทอขึ้นมาใหม่จากภูมิรู้ของผู้อวุโส มีจำนวน 6 ลาย  3.ผลจาการพัฒนาลวดลายผ้าไหมพื้นบ้านที่ยังคงเอกลักษณ์ ได้ลายผ้าไหมจำนวน 16 ลาย คือ ประยุกต์ผลมผสานจากลวดลายดั้งเดิม จำนวน 8 ลาย และการประยุกต์วิถีชีวิตของชาวไทยกูยผสมผสานลวดลายดั้งเดิมเป็นลายใหม่ จำนวน 8 ลาย จากการปฏิบัติการพัฒนาลายผ้า พบรูปแบบการถ่ายทอดสืบทอดความรู้และการเรียนรู้ 3 ลักษณะ คือ 1) กระบวนการถ่ายทอดความรู้ในครอบครัว 2) การถ่ายทอดและสืบทอดจากคนภายนอกครอบครัว 3) การเรียนรู้ด้วยตัวเอง The purpose of this study was to about the background of the  native wisdom transmission process Thai Kui skill weaving : in terms of revitalization of native wisdom on the transmission, and the developing of native identity design. The research focused on 3 provinces of Southern Isan Thai Kui community ; using the interview, brain storming, learning together to be the action developing of three of scholars from Arue village, Surin Province, Tagon village, Srisagate Province, and Dongkrating village, Bureerum Province. Data was the collected using participatory methodology and in-depth interview, data were analyzed using content analysis. 1. SouthernIsan Thai Kui community that has been in the Korat basin plateau has the plentiful of traditional and the same folklores that have been transmitted from the ancestors; because of the south eastern and north eastern monsoon influence. Since there was the social changing in to the capitalist; people do their weaving process such as mulberry planting and silk worm feeding as their extra job when they finish their rice field work. 2. The maintenance and revitalization process of Thai Kui native silk is by the people participation together in planning, preparing, and do their weaving with the wiser tutoring in 6 new native designs. 3. The accomplishment on developing native silk design are 16 design. There are 8 applied with native design, 8 Thai Kui folklore with native design to be new design. There have been founded that there are 3 formats on the wisdom transmission format and learning : (1) the on family transmission process, (2) the transmission process by people out of family, (3) oneself learning; in addition.

Downloads