การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา: กรณีศึกษารายวิชาการพัฒนากับการศึกษา

Authors

  • วรวุฒิ เพ็งพันธ์

Keywords:

จิตตปัญญาศึกษา, กิจกรรมการเรียนการสอน

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษารูปแบบกิจกรรมในรายวิชาตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษา  และศึกษาผลการจัดกิจกรรมจามแนวคิตตามจิตตปัญญาศึกษาในรายวิชาการพัฒนาศึกษา จากนิสิตวิชาเทคโนโลยีทางการศึกษาจำนวน 32  คน โดยผู้วิจัยใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative  research)ประกอบด้วยการสังเกตอย่างมีส่วนร่วม การจดบันทึก และรายงานการประเมินตนเองของผู้เรียน การวิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบกิจกรรมในรายวิชาทั้ง  8  กิจกรรม มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในรายวิชาทั้ง 8 บทเรียน สามารถนำกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษามาใช้แก่ สุนทรียสนทนา (Dialogue)การฟังอย่างลึกซึ้ง (Deep listening) การเขียนบันทึก (Journaling) และการสะท้อนความคิดรายบุคคลและเป็นกลุ่ม (Self and Group Reflection)  2. ผลการจัดกิจกรรมตามแนวคิดจิตตปัญญาศึกษาทั้ง  8  กิจกรรม  พบว่า  ผู้เรียนสามารถเพิ่มพูนความรู้ของตนเอง (พุทธิพิสัย) ผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงเจตคติในการเรียนรู้ (จิตพิสัย) และผู้เรียนมีการเปลี่ยนแปลงในด้านทักษะต่อการเรียนรู้ (ทักษะพิสัย) 3. ผู้เรียนมีการเรียนรู้สู่การเปลี่ยนแปลงในด้านโลกทัศน์ ด้านการตระหนักถึงคนรอบข้าง ด้านการตระหนักถึงสังคมและสิ่งแวดล้อม ด้านความรักความเมตตา และด้านนิยามความสุขในการเรียนรู้ The purpose of this research was to study learning activities model and results of them under the contemplative educational concept in development and education course by using the sample group from 32 educational teachnology students. The researcher used the qualitative research methodology ; participation observation, journaling, self assessment report (SAR) and analysis in content. Research findings were as follows: 1. The eight activities of learning activities model in this course are related to the content of eight lessons. The contemplative education concept in dialogue, deep listening, journaling and self and group thinking feedback can be applied to them. 2. The results of eight activities under the contemplative education concept are show that the students have knowledge increasing (cognitive domain), learning attitude changes (affective domain) and learning skill changes (psychomotor domain). 3. The students have world view broadly in realized to other people, society and environment, love and kindness including to the definition of happiness in learning.

Downloads