พฤติกรรมชาวนาไทยในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร

Authors

  • กรกฤช ตันติจารุภัทร์
  • สมหมาย แจ่มกระจ่าง
  • ศรีวรรณ ยอดนิล

Keywords:

พฤติกรรม, การใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร

Abstract

 การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรม ผลกระทบและการปรับตัวของชาวนาไทยในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรในช่วงโครงการนำร่องปี พ.ศ. 2555-2558 2)เพื่อเปรียบเทียบพฤติกรรมชาวนาไทยในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรในภูมิภาคต่าง ๆ ระหว่างภาคกลาง ภาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ และ 3) เพื่อเสนอแนวทางการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรให้เหมาะสมและเป็นประโยชน์แก่ชาวนาไทยโดยใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ เก้บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก การสังเกตแบบมีส่วนร่วมและไม่มีส่วนร่วม และการสนทนากลุ่มผู้ให้ข้อมูลและสนทนากลุ่ม คือ ชาวนาไทยีท่ได้รับบัตรสินเชื่อเกษตรกร ผู้นำชุมชน/ แกนนำชุมชน/ หัวหน้ากลุ่มเกษตรกร ที่ได้รับบัตรสินเชื่อเกษตรกร ผุ้ประกอบการร้านค้าเกษตรที่เข้าร่วมโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรพนักงานของธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์การเกษตร และสหกรณ์การเกษตร (ธ.ก.ส)ที่เกี่ยวข้องกับโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรและมีภูมิลำเนาอยู่ในพื้นที่นำร่องของโครงการบัตรสินเชื่อเกษตรกรทั้ง 5 จังหวัดนำร่อง ผลการวิจัยพบว่า ชาวนามีพฤติกรรมการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร 2 กลุ่ม คือ กลุ่มการใช้บัตรสินเชื่อเหษตรกรและกลุ่มไม่ใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกร โดยพฤติกรรมการใช้บัตรระหว่างภาคกลาง ถาคเหนือ และภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีความแตกต่างกัน คือ ชาวนาภาคกลางใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรไม่เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดทั้งให้ผู้อื่นใช้บัตรตนเองใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรทั้ง 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่มีผลกระทบทางบวก มีความคล่องตัวในการหมุนเงินเพื่อการดำเนินชีวิตประจำวัน มีเงินทุนสำรองยามฉุกเฉินจากวงเงินของบัตร ส่วนผลกระทบทางลบ คือ การมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันคนในกลุ่มที่ต้องการเพิ่มวงเงินของบัตร ส่วนผลกระทบทางลบ คือ การมีหนี้สินเพิ่มขึ้นจากการเป็นผู้ค้ำประกันคนในกลุ่มที่ต้องการเพิ่มวงเงิน และการใช้จ่ายเพิ่มขึ้นด้วยวงเงินของสินเชื่อเกษตรกร การปรับตัวของชาวนาในการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรของตนเองเกิดประโยชน์ของตนเอง สำหรับแนวทางการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรให้เหมาะสมเพื่อประโยชน์แก่ชาวนาควรเป็น ดังนี้ 1)ด้านผู้เกี่ยวข้อง ควรมีการทบทวนขั้นตอนการออกบัตรสินเชื่อเกษตรกร 2)สหกรณ์การเกษตรเพื่อการตลาดลูกค้า ธ.ก.ส (ส.ก.ต) ควรจัดหาสินค้าให้มีความหลากหลายให้เป็นไปตามความต้องการของชาวนา 3)ด้านราคาสินค้าและการประชาสัมพันธ์ ควรมีการควบคุมราคาสินค้าให้เป็นธรรม 4)ด้านภาระหนี้สืนของเกษตรกรควรส่งเสริมให้เกษตรกรหยุดการก่อกหนี้นอกระบบ โดยการขอความร่วมมือองค์กรอื่นเข้ามามีส่วนร่วมในการลดภาระหนี้สินและส่งเสริมการประกอบอาชีพพิเศษ 5)ด้านการสร้างความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรแก่ชาวนา ควรส่งเสริมให้ใช้บัตรสินเชื่อเกษตรกรตรงตามความวัตถุประสงค์ 6)ด้านหน้าที่และความรับผิดชอบต่อการใช้เงินคืนตามกำหนดเวลา ควรดำเนินการประเมินผล และชี้แจงผลการประเมินงานแนวทางต่างๆที่กำหนดไว้ และคืนให้ผู้เกี่ยวข้องได้รับทราบเพื่อนำไปสู่การพัฒนาต่อไป This study aimed at 1) examining behavior, impacts and adaptation of Thai farmers towards farmer credit card usage under the pilot project of B.E, 2555- 2558; 2) conducting a comparison of Thai farmer credit card usage in different regions, namely, the central, the north, and the north-east of Thailand; and 3) providing several ways of the appropriate and profitable usage for the farmers. This qualitative research was conducted by in-depth interview, participatory and non-participatory observation, and focus group. Informants for the study were farmers, community leaders, heads of farmers who were granted farmer credit cards, entrepreneurs of agricultural shops who participated in the farmer credit card program, officers of the Bank for Agriculture and Agricultural Cooperatives relevant to the said project and resided in five pilot provinces of the project. The findings are as follows:  There were two types of the behaviors: usage and non-usage by differences among the regions. The farmers in central Thailand used their farmer credit card irrelevant to the criteria. Some allowed others to use their own cards, some used the card to purchase irrelevant products. Some used the cards for cash exchange. With a comparison to the farmers in northern and northeastern Thailand, they could use the farmer credit card relevant to the criteria. These behaviors contributed to both positive and negative impacts. With regards to the positive ones, there were a capital for their daily life, and contingency reserve With regards to the negative ones flow of there was an increase in debts from guaranty to others who needed the farmer credit cards and their own over-payment. As far as the adaptation attributed from the behaviors and impacts was concerned, the farmers should adapt themselves for their appropriate and profitable usage. Firstly process of the farmer credit card granting. Secondly, the relevant persons should review the Agricultural Marketing Co-operatives Limited should improve product brands to meet the farmer's needs. Thirdly, prices of the products should be reasonable. Fourthly, there should be a campaign for stopping non-systematic debts by increasing special earnings and participating with other stakeholders. Fifthly, there should be awareness building for the farmer credit card usage. Sixthly, the farmers should be educated about on-time payment. Seventhly, relevant agencies should often evaluate and publicize their evaluations for further development.  

Downloads