การสร้างตัวตนความเป็นแม่ในสังคมชายเป็นใหญ่

Authors

  • สุธิดา สองสีดา
  • สุรวุฒิ ปัดไธสง

Keywords:

, ฟูโกต์ สตรีนิยมแนวฟูโกต์, เทคโนโลยีของอำนาจ, การศึกษาเรื่องเล่าแบบฟูโกต์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเผยให้เห็นถึงกระบวนการสร้างตัวตนความเป็นแม่ของผู้หญิงในสังคมชายเป็นใหญ่ ซึ่งแนวคิดอำนาจ ความรู้และอุดมการณ์ชายใหญ่ ได้สร้างความจริงที่ทำให้เกิดความสัมพันธ์ทางเพศที่ไม่เท่าเทียมกันระหว่างผู้หญิงกับผู้ชายในพื้นที่ของครัวเรือน โดยกำหนดบทบาทหญิงชาย อุดมการณ์ทางเพศ ซึ่งความจริงที่ผู้หญิงใช้เป็นแนวทางปฏิบัติในชีวิตประจำวันให้กลายเป็นแม่ที่ดี ซึ่งเป็นร่างกายที่สยบยอมผ่านเทคโนโลยีของอำนาจคือ การสังเกตและการตัดสินเพื่อสร้างความเป็นปกติ งานวิจัยชิ้นนี้เป้นการศึกษาเชิงคุณภาพ โดยใช้วิธีการวิจัยแบบเรื่องเล่า และการวิเคราะห์เรื่องเล่าแบบฟูโกต์เดียน โดยผู้วิจัยได้สนทนากับผู้หญิที่มีลูกและผ่านประสบการณ์การถูกทำร้ายร่างกายและถูกทำร้ายจิตใจจากสามี จำนวน 8 คน ที่อาศัยอยู่ในเขตจังหวัดที่มีลักษณะกึ่งเมืองกึ่งชนบท มีความแตกต่างด้านสังคมและเศรษฐกิจ เพื่อวิเคราะห์กระบวนการสร้างตัวตนความเป็นแม่ที่ดีจากเรื่องเล่าประสบการณ์ชีวิตของผู้หญิงที่ให้ข้อมูล ผลการวิจัยพบว่า อำนาจ ความรู้ และอุดมการณ์ชายเป็นใหญ่ ได้สร้างปฏิบัติการความเป็นแม่ที่ดีในพื้นที่ครัวเรือน ซึ่งผู้หญิงจะมีความสำนึกรู้ สร้างความเข้าใจโดยปราศจากข้อสงสัยและปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด และผู้หญิงจะต้องเป็นแม่ไปตลอดชีวิตของเธอ เริ่มตั้งแต่การดูแลลูกตั้งแต่อยู่ในครรภ์ แรกเริ่มตั้งครรภ์ การดำรงครรภ์ การฝากครรภ์ การดูแลครรภ์ การเลี้ยงลูก ชีวิตแม่ลูกอ่อน การให้ลูกดื่มนมแม่ การคลอดลูก การเลี้ยงลูก การให้หารศึกษาแก่ลูก แม่ที่ต้องปกป้องลูกจากอันตรายและปัญหาต่างๆ และแม้กระทั่งแม่ที่ต้องเลี้ยงหลาน ซึ่งตัวตนความเป็นแม่นี้เป็นระบบความพันธ์เชิงอำนาจที่ไม่เท่าเทียมกันที่สร้าให้ผู้หญิงกลายเป็นร่างกายที่สยบยอม The research was aimed to reveal the process that constructs the self of motherhood in the patriarchal society where the  concept of power, knowledge and patriarchy creates the truth that brings about unequal gender relation between men and women in the household by determining gender role, gender ideology. It is the truth taken by women to guide their daily practices to become a good mother, as a docile body through technologies of power, i.e. observation and normalizing judgments. This research employed a qualitative study using the narrative approach and Foucauldian narrative analysis. To analyze the process of constructing the self of good motherhood from the experiences of women as informants, the researcher had conversations with 8 women who had children and experienced physical and psychological abuses by their husbands. Their residence were in the semi-urban, semi-rural provincial areas with socio-economic differences. Research results suggest that the power, knowledge, and patriarchy had set up the practices of good motherhood in the household space in which women had awareness and understanding without questions and strictly followed them. Accordingly, women are expected to be mother throughout their life from nurturing the child during pregnancy to childbirth, an antenatal care for pregnant, the mother breastfeeds the baby dribble, to educate their children. As the self of mother who has to take care of the child, prevents the child from any harms and problems, and even as a mother who raises grandchildren. It is this self of mother as a result of unequal power relation that constructs a women as a docile body.    

Downloads