การพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจสำหรับพนักงานระดับหัวหน้างานของศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจยานยนต์อีซูซุ ในภาคตะวันออก ประเทศไทย

Authors

  • นภาพิไล ลัทธศักดิ์ศิริ
  • สุพัตรา ประดับพงศ์

Keywords:

ทักษะการแก้ปัญหา, ทักษะการตัดสินใจ, พนักงานระดับหัวหน้างาน, หลักสูตรการฝึกอบรม

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมเพื่อสร้างเสริมทักษณะการแก้ปัญหาและการตัตสินใจสำหรับพนักงานระดับหัวหน้างานศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจยานยนต์อีซูซุในภาคตะวันออกของประเทศไทย และ 2) ประเมินประสิทธิผลของหลักสูตรการฝึกอบรม กลุ่มตัวอย่าง คือ พนักงานระดับหัวหน้างานศูนย์บริการลูกค้าธุรกิจยานยนต์อีซูซุ จำนวน 30 คน ดดยใช้วิธีเลือกแบบเจาะจง เครื่องที่ใช้ในงานวิจัยคือ 1)คู่มือหลักสูตรการฝึกอบรมการสร้างเสริมทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 2)แบบทดสอบวัดความรู้ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 3) แบบประเมินทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจ 4) แบบประเมินเจตคติที่มีต่อการใช้ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในปฏิบัติงาน และ 5) แบบสัมภาษณ์ติดตามการใช้ทักษะการแก้ปัญหาและการติดสินใจในการปฏิบัติงาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ ทดสอบค่าทีและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) กระบวนการพัฒนาหลักสูตรการฝึกอบรมใช้หลักการเรียนรู้แบบร่วมมือและกรณีศึกษาประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ 1) การกำหนดเป้าหมาย วัตถุประสงค์ และขอบข่ายที่ต้องการพัฒนา 2) การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร 3) การนำหลักสูตรไปใช้ และ 4) การประเมินประสิทธิผลของหลักสูตร หลักสูตรมีองค์ประกอบที่สำคัญได้แก่ วัตถุประสงค์ เนื้อหา ระยะเวลา กระบวนการการฝึกอบรม และการประเมินผล 2) คะแนนเฉลี่ยของผลทดสอบวัดความรู้เรื่องทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของพนักงานระดับหัวหน้างาน หลังการฝึกอบรมสูงกว่าก่อนการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจของพนักงานระดับหัวหน้างาน หลังการฝึกอบรมอยู่ในระดับสูงมาก (80.35%) 4) เจตคติของพนักงานระดับหัวหน้าที่มีต่อการใช้ทักษะดังกล่าวในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับสูง (= 4.19) 5) การใช้ทักษะการแก้ปัญหาและการตัดสินใจในการปฏิบัติงานหลังเข้ารับการฝึกอบรมอยู่ในระดับสูง (= 3.83) และ 6) ร้อยละ 91.65 ของผู้เข้ารับการฝึกอบรมมีความมั่นใจในการแก้ปัญหาและสามารถตัดสินใจเลือกวิธีการแก้ปัญหาที่ดีที่สุดไปใช้ในการปฏิบัติงาน This study aimed to 1) develop a training program to enhance problem solving and decision making skills of supervisors of the ISUZU service center of the automotive industry in Eastern Thailand, and 2) evaluate the effectiveness of the program. The sample group consisted of 30 purposively selected supervisors of ISUZU service center. The research instruments were 1) a training program manual for problem solving and decision making skill enhancement, 2) a knowledge test of these skills, 3) an assessment of these skills, 4) an assessment of supervisors’ attitude towards the use of these skills in their work, and 5) an interview to follow up the use of these skills in their work. The obtained data were analyzed by using means, standard deviations, percentages, t-test, and content analysis. The results of the study revealed that 1) the training program development process consisted of 4 steps as follows: 1) setting goals, objectives, and development scope 2) program design and development, 3) program implementation, and 4) program effectiveness evaluation. In addition, the training program had important components which were objectives, contents, duration, a training process, and evaluation requiring participants to be involved in learning activities through the use of case studies and cooperative learning. 2) The average score of the post-test of their knowledge of problem solving and decision making skills were significantly higher than that of the pre-test at the level of .05. 3) The enhancement of supervisors’ problem solving and decision making skills after the training was at the highest level (80.35%). 4) Their attitudes towards the use of these skills in their work was at a high level ( = 4.19). 5) Their use of these skills in their work after the training was at a high level ( = 3.83). 6) Ninety one point sixty five percent of the participants had high confidence in problem solving and could select the best solution for their work.    

Downloads