สหบททางธรรมชาติ : รงควัตถุจากธรรมชาติโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสะอาด สู่การสร้างทางศิลปศึกษา

Authors

  • บุญเสริม วัฒนกิจ
  • โกสุม สายใจ
  • สุชาติ เถาทอง
  • เอกพงษ์ สุวัฒนมาลา

Keywords:

สหบททางธรรมชาติ, รงควัตถุ, การบูรณาการ, ภูมิปัญญาท้องถิ่น, เทคโนโลยีสะอาด, การสร้างทศิลปศึกษา

Abstract

การวิจัยเรื่อง “สหบททางธรรมชาติ : รงควัตถุจากธรรมชาติโดยการบูรณาการภูมิปัญญาท้องถิ่นและเทคโนโลยีสะอาด สู่การสร้างสรรค์ทางศิลปศึกษา” มีวัตถุประสงค์ เพื่อ 1. เพื่อศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นในการผลิตสีจากธรรมชาติ 2. เพื่อทดลอง และพัฒนาแม่สีวัตถุธาตุจากธรรมชาติด้วยเทคโนโลยีสะอาด 3. เพื่อสร้างชุดการเรียนรู้สีธรรมชาติจากภูมิปัญญาท้องถิ่นบูรณาการเทคโนโลยีสะอาดที่เหมาะสมกัยการเรียนรู้ศิลปศึกษาในการศึกษาขันพื้นฐาน 4. เพื่อสร้างสรรค์ผลงานทัศนศิลป์ของผู้วิจัยด้วยงานศิลปะเด็กจากสีธรรมชาติในมุมมองที่มีต่อธรรมชาติ กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยได้จากการเลือกแบบจำเพาะเจาะจง (Purposive sampling) เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษา ชั้นปีที่ 5 จำนวน 30 คน สถิติที่ใช้ในการวิจัย คือ ค่าเฉลี่ย                 ผลการศึกษาวิจัยพบว่า แม่สีวัตถุธาตุที่ผลิตด้วยหลักการเทคโนโลยีสะอาด ใช้กระบวนการภูมิปัญญาท้องถิ่น เมื่อประเมินคุณภาพสีทางวิทยาศาสตร์ พบว่า ตัวทำละลายเอทานอล ละลายรงควัตถุได้ดี ความคงทนพบว่า ค่าของสีขมิ้นลดลงไปครึ่งหนึ่งใช้เวลา 123.78 วัน ค่าสีครามและอัญชันไม่ลดลง ค่าของสีฟ้าทองลดลงไปครึ่งหนึ่งเมื่อใช้เวลา 94.95 วัน ค่าสีกระเจี๊ยบลดลงครึ่งหนึ่งใช้เวลา 177.73 วัน และค่าของสีจากฝางจะลดลงไปครึ่งหนึ่งใชเวลา 29.75 วัน ประเมินคุณภาพของสีทางทัศนศิลป์มีคุณภาพอยู่ในระดับ ดี นำผลการศึกษาภูมิปัญญาท้องถิ่นมาบูรณาการกับหลัการเทคโนโลยีสะอาดแล้วสร้างชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เมื่อประเมินมีคุณภาพระดับ ดี การใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้กับเด็กนักเรียน ได้ผลการประเมินพฤติกรรม นักเรียนอยู่ในระดับ ดีมาก เมื่อใช้ชุดกิจกรรมกับนักเรียนเสร็จได้ผลงานจิตรกรรมของนักเรียนมาประกอบผลงานศิลปะติดตั้ง Installation Artในหัวข้อ “สหบทของธรรมชาติ” ของผู้วิจัยที่ผ่านการประเมินแบบร่าง และประเมินผลคุณภาพได้ระดับ ดี                   The purposes of this research were as follow 1. To study the local wisdom to produce natural color 2. To experiment and develop natural primary colors by cleaner technology 3. To create natural color learning form by local wisdom which suited to the learning of art according to The Basic Education and 4. To create the visual work of researcher. The sample of this research consisted of 30 students in  Pratomsuksa 5 by selecting from purposive sampling method.                 These were the results of this research. The primary colors which made from cleaner technology and local wisdom were evaluated by the scientific quality evaluation. It is found that the solution of ethanol could melt the pigment easily.                 The turmeric color decreased at half rate by spending 123.78 days.                 The indigo color and butterfly pea color did not change.                 The pumpkin color decreased at half rate by spending 94.95 days.                 The roselle color decreased at half rate by spending 177.73 days.                 The nypa palm color decreased at half rate by spending 29.75 days.                 The evaluation of visual art was at the good rate. The result of the local wisdom which was integrated with cleaner technology to make learning activity form was at the good rate. Using learning activity with students was evaluated at the excellent rate. After using learning activity, students’ paniting works were shown as an Installation Art under the topic “Natural Intertextuality” by the researcher and the result of the evaluation was at the good rate.    

Downloads