การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี 2) เปรียบเทียบพฤติกรรมการใช้สื่อสังคมของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามข้อมูลส่วนบุคคล ได้แก่ เพศ สถานภาพสมรส ระดับการศึกษา รายได้ และอาชีพ 3) ศึกษาผลกระทบของการใช้สื่อสังคมของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรีจำนวน 380 คน เครื่องมือที่ใช้ เป็นแบบสอบถามแบบตรวจรายการและแบบมาตรประมาณค่าสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการทดสอบรายคู่ ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมออนในภาพรวมอยู่ในระดับปานกลางเมื่อพิจารณารายด้านตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากไปหาน้อยได้แก่ ด้านประโยชน์ อยู่ในระดับมาก ด้านอุปกรณ์ ด้านวัตถุประสงค์ อยู่ในระดับ ปานกลาง ด้านโปรแกรม และด้านอุปสรรค อยู่ในระดับน้อย 2) พฤติกรรมการใช้สื่อสังคมของผู้สูงอายุที่พักอาศัยในเขตอำเภอเมือง จังหวัดชลบุรี จำแนกตามเพศ ระดับการศึกษา และรายได้ โดยรวมและรายด้านทุกด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 จำแนกตามสถานภาพสมรสและจำแนกตามอาชีพโดยรวมแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญทางสถิติ รายด้านแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ผลกระทบจากการใช้สื่อสังคม ด้านเศรษฐกิจได้แก่ใช้เงินเป็นค่าบริการโทรศัพท์/อินเทอร์เน็ตจำนวนมาก ด้านสังคม ได้แก่ มีการติดต่อสื่อสารกับคนในครอบครัวเพิ่มขึ้น ด้านอารมณ์และจิตใจได้แก่ความเครียดจากกิจกรรมอื่น และด้านสุขภาพได้แก่ได้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ด้านการดูแลสุขภาพทั่วไป The purposes of this research were: 1) to study the using social media behavior of the elderly in Muang District Chonburi Province 2) to compare the using social media behavior of the elderly in Muang District Chonburi Province classified by personal data, gender, marital status, educational level, income, and occupation 3) to study the impact of using social media behavior of the elderly in Muang District Chonburi. The sample consisted of 380 elder in Muang Distrtct Chonburi Province. The checklist and rating scale questionnaire was used for data collection. The data were analyzed in terms of percentage , arithmetic mean , standard deviation , t-test , one-way analysis of variance, and LSD. The results were as follows: 1) overall of the using social media behavior of the elderly in Muang District Chonburi was rated at moderate level. The advantage aspect was rated at high level, the equipment and objective aspects were rated at moderate level, the program and the trouble aspects were rated at low level respectively. 2) the comparison of the using social media behavior of the elderly in Muang District Chonburi as classified by gender, marital status, educational level, income were statistically significant differences at the .05 level in overall and all aspects, when classified by marital status, and occupation it was showed no significant difference in overall however there were statistically significant differences at the .05 level in all aspects. 3) the impact of using social media behavior of the elderly in Muang District Chonburi Province in economics aspects was spending much money for mobile phone and internet services, in social aspects was more communication to family members, in and emotion aspects was relaxing from other activities, and in health aspects was getting useful information for healthcare.