การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัส ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับการศึกษาระดับอาชีวศึกษา 2) เพื่อประเมินรูปแบบการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัส ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับการศึกษาระบบอาชีวศึกษา วิธีดำเนินการวิจัย การสังเคราะห์รูปแบบการเรียนรู้ ด้วยเทคนิคการวิจัยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม ตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 2 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 9 คน และกลุ่มผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 5 คน ผลการวิจัยพบว่า 1) รูปแบบการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัส ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับการศึกษาระดับอาชีวศึกษา ที่สังเคราะห์ขึ้นด้วยเทคนิคการวิจัยแบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้างประกอบด้วย 7 โมดูลหลัก ได้แก่ โมดูลผู้สอน โมดูลผู้เรียน โมดูลสภาพแวดล้อมยูบิควิตัส โมดูลแหล่งเรียนรู้ โมดูลการติดต่อสื่อสาร โมดุลการเรียนรู้ และโมดูลการประเมินผล สภาพแวดล้อมยูบิควิตัส ประกอบด้วยคุณลักษณะแบบ LEARN 5 ด้าน ได้แก่ ด้านดึงข้อมูลได้ง่าย (Easy to retrieve) ด้านเข้าถึงได้ทุกที่ (Accessible anywhere) ด้านใช้งานได้ทันที (Ready and available) และด้านส่งเสริมความคิด (New and creative) โดยมีขั้นตอนการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดแก้ปัญหา เรียกว่า ขั้นตอนการคิดแก้ปัญหา แบบ 5 D ประกอบด้วย 5 ขั้นตอน ได้แก่ ขั้นเข้าใจปัญหา (Define the problem) ขั้นศึกษาแนวทางแก้ไข (Discover possibilities) ขั้นตัดสินใจเลือกแนวทาง (Decide promptly) ขั้นวางกลยุทธการดำเนินการ (Devise an action strategy) และขั้นรายงานและประเมิน (Defense report and evaluation) 2) ผลการประเมินรูปแบบของผู้เชี่ยวชาญที่มีต่อรูปแบบการเรียนรู้ในสภาพแวดล้อมยูบิควิตัส ที่ส่งเสริมความสามารถในการคิดแก้ปัญหา สำหรับการศึกษาระดับอาชีวศึกษาอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.70, SD = 0.48) The purposes of this study were: 1) to synthesize the Ubiquitous Learning Environment (ULE) Model development in order to promote the problem solving thinking (PST) skills of the vocational education students 2) to evaluate the ULE model development in order to promote the PST Skills of the Vocational Education Students The research methodology: the synthesize of the ULE Model development in order to promote the PST Skills of the Vocational Education Students the interview technique, and the model experimentation of the ULE Model in order to promote the PST Skills of the Vocational Education Students were used in this research. The research instruments consisted of interviews questionnaires. The sample group used in this study consisted of 2 subgroups experts: 9 experts and 5 experts. The results of the study were as follows : 1) the development of the ULE Model in order to promote the PST Skills of the Vocational Education Students which systhesized with the interview research techniques consistes of seven core modules were created for the ULE Model, namely: Teacher Module Student Module Ubiquitous Learning Environment Module Learning Module Communication Module Resources Module and Evaluation module Characteristics of an Ubiquitous Learning Environment Modules: L: Lots of Materials E: Easy to Retrieve A: Accessible anywhere R: Ready and Available and N: New and Creative. 5 Steps of the PST Skills (5D): Define the problem D: Discover possibilities D: Decide promptly D: Devise an Action Strategy D: Defense report and Evaluation 2) Assessment from experts on the development of the ULE Model in order to promote the PST Skills of the Vocational Education students is (X = 4.70, SD = 0.48)