การพัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู เพื่อการบริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออก

Authors

  • สุเมธ งามกนก

Keywords:

เทคโนโลยีสารสนเทศ, การบริหารสถานศึกษา,

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออก โดยแบ่งการวิจัยออกเป็น 2 ระยะ คือ ระยะที่ 1 เพื่อสร้างและตรวจสอบโมเดลปัจจัยเชิงสาเหตุที่ส่งผลต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารสถานศึกษาในภาคตะวันออก กลุ่มตัวอย่างได้แก่ ครูในโรงเรียนประถมศึกษา และมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานในเขตภาคตะวันออก จำนวน 570 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ซึ่งข้อคำถามเป็นตัวบ่งชี้ในแต่ละองค์ประกอบของปัจจัยที่ส่งผลต่อศักยภาพในการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารสถานศึกษาที่สร้างจากแนวคิด ทฤษฎีและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง มีค่าความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง .954-.983 และค่าอำนาจจำแนกรายข้ออยู่ระหว่าง .571-.836 การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติพื้นฐานการตรวจสอบโมเดลการวัด (Measurement Model) ด้วยการวิเคราะห์โมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ โดยใช้การวิเคราะห์โมเดลสมการโครงสร้างเชิงเส้น (Structural Equation Model: SEM) ด้วยโปรแกรม LISREL 8.72 เพื่อตรวจสอบความสอดคล้องของโมเดลกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจากเกณฑ์ดัชนีชีวัดความสอดคล้องกลมกลืนระหว่างโมเดลตามสมมติฐานกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ผลการวิจัยพบว่าโมเดลความสัมพันธ์เชิงสาเหตุระหว่างปัจจัยการยอมรับเทคโนโลยีสารสนเทศของผู้บริหาร และปัจจัยสมรรถนะครูรายบุคคล ที่ส่งผลต่อศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหรสถานศึกษา มีความตรงเชิงโครงสร้าง (Validity) และมีความเหมาะสมสอดคล้องดีกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ระยะที่ 2 เพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมเพื่อพัฒนาศักยภาพการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการทดลองหลักสูตร คือข้าราชการครูในเขตภาคตะวันออกที่สมัครใจเข้ารับการฝึกอบรม จำนวน 45 คน เครื่องมือที่ใช้ในการทดลอง ได้แก่ แบบวัดความรู้ เจตคติ และทักษะเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารการจัดการชั้นเรียน รวมทั้งแบบสอบถามความคิดเห็นเกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารสถานศึกษาในด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียน ผลการวิจัย พบว่า ความรู้เกี่ยวกับการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียน เจตคติที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อการบริหารจัดการชั้นเรียน มีการเปลี่ยนแปลงสุงกว่าเกณฑ์ 20% ขึ้นไป และมีคะแนนพัฒนาการด้านความรู้ 75.68% และคะแนนพัฒนาการด้านเจตคติ 88.18% ส่วนการประเมินทักษะจากการสังเกตพฤติกรรม พบว่า คะแนนด้านทักษะสูงกว่าเกณฑ์ 3.50 คือ 4.12 การประเมินความพึงพอใจในการฝึกอบรมจากผู้เข้ารับการฝึกอบรม พบว่า การฝึกอบรมมีความเหมาะสมในระดับมากเกือบทุกข้อรายการประเมิน ส่วนการติดตามผลหลังการฝึกอบรม 1 เดือน พบว่าความคิดเห็นการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครูเพื่อการบริหารสถานศึกษา ด้านการพัฒนาคุณภาพการเรียน มีค่าเฉลี่ยระดับความคิดเห็นสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรม .35 The purpose of this research was to develop teachers’ capability to use information technology for educational administration. This research divided  into two phases. The first phase was to construct and calidate the model of factors affecting teachers’ capability in using information teachnology to administer educational institutions. The participants were 570 teachers in primary and secondary schools under the office of the basic Education commission in the east of Thailand. The research instrument was a questionnaire on factors influencing teachers’ capability to use information teachnology for educational purpose, constructed based on related theories and literature. The reliability of the questionnaire was between .954-.983 with discrimination index between .571-.836. The data were analyzed by using the confirmatory factor analysis to study the measurement model and using the structural equation model analysis in the LISREL 8.72 program to analyze a causal relationship model in order to validate with empirical evidence. The model was also appropriate with the empirical evidence. The second phase was to develop a curriculum to train teachers’ capability to use information technology for educational administration. 45 participants volunteered to participate in the curriculum. The research instrument were test, questionnaire and observational. The findings from the training curriculum were as follows. Teachers’ knowledge on using information technology was higher than the criterion of 20%. The growth of knowledge was at 75.68% and attitudes at 88.18%. The data from observation found that teachers’ skills were higher than the criterion of 3.5, which was 4.12 An examination of the participants’ satisfaction about the curriculum found that teachers reported having satisfaction at the high level in all items. The one-month follow up pointed that teachers reported opinions higher than before participating in the training curriculum at .35.

Downloads