การพัฒนาแบบทดสอบอภิปัญญาวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนมัธยมศึกษาปีที่ 3

Authors

  • ธนาวุฒิ ลาตวงษ์
  • ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล
  • ณสรรค์ ผลโภค
  • มนัส บุญประกอบ

Keywords:

อภิปัญญา, การพัฒนาแบบทดสอบ

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาแบบทดสอบอภิปัญญาวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 2) ตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบอภิปัญญาวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ของโรงเรียนแห่งหนึ่งในจังหวัดร้อยเอ็ด ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 1 ห้องเรียน จำนวน 45 คน โดยใช้วิธีการกลุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในงานวิจัย ได้แก่ 1) แบบทดสอบอภิปัญญาวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 2) แบบประเมินความสอดคล้องของข้อสอบอภิปัญญาปับองค์ประกอบของอภิปัญญา สำหรับผู้เชี่ยวชาญ และ 3) แบบประเมินความถูกต้องของเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษาของข้อสอบอภิปัญญา สำหรับผู้เชี่ยวชาญ ดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลแล้วนำมาตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบอภิปัญญาด้วยการวิเคราะห์ค่าดัชนี ความสอดคล้อง ค่าความยากง่าย ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น ผลการพัฒนาแบบทดสอบอภิปัญญา สรุปได้ดังนี้ 1. ผลการพัฒนาแบบทดสอบอภิปัญญาวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ได้แบบทดสอบอภิปัญญาที่เป็นแบบอัตนัย จำนวน 24 ข้อ ประกอบด้วย 1) สถานการณ์วิทยาศาสตร์ 4 สถานการณ์ 2) ข้อคำถามปลายเปิดจำนวนสถานการณ์ละ 6 ข้อ เพื่อประเมินความสามารถด้านอภิปัญญา 6 องค์ประกอบ กล่าวคือ (1)การตระหนักรู้ในตนเอง (2) การตระหนักรู้ในกลวิธี (4) การวางแผน (5) การกำกับติดตาม และ (6) การประเมินผล 3) แนวคำตอบ 24 ข้อ และ  4) เกณฑ์การให้คะแนน 24 ข้อ  2. ผลการตรวจสอบคุณภาพรายข้อของแบบทดสอบอภิปัญญาวิชาวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 พบว่า ค่าดัชนีความสอดคล้องของข้อสอบกับองค์ประกอบของอภิปัญญาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าดัชนีความสอดคล้องของความถูกต้องของเนื้อหาและความเหมาะสมของภาษาอยู่ระหว่าง 0.67-1.00 ค่าความยากง่ายอยู่ระหว่าง 0.22-0.44 และค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.44-0.88 และผลการตรวจสอบคุณภาพของแบบทดสอบทั้งฉบับ พบว่า มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.93 The purposes of this research were 1) to develop a Metacognition test in science subject for ninth-grade students and 2) to examine the quality of a Metacognition test in science subject for ninth-grade students. The participants were 45 students in one classroom who studied in ninth-grade in the first semester of 2015 academic year using cluster random sampling. The research instruments consisted of 1) a Metacognition test in science subject for ninth-grade students, 2) a consistency evaluation form of a Metacognition test and components of Metacognition for experts, and 3) an accuracy evaluation form of content and appropriateness of language of a Metacognition test for experts. The quality of the test were analyzed by using the Index of consistency (IOC), difficulty, discrimination, and reliability The results of developing Metacognition test were summarized as follows: 1. The result of developing Metacognition test in science subject for ninth-grade students found that the Metacognition test contained 24 items of open-ended questions which composed of  1) four scientific situations, 2) six items of open-ended questions of each scientific situations for evaluating six components of Metacognition which were (1) Self-awareness, (2) Task awareness, (3) Strategy awareness, (4) Planing, (5) Monitoring, and (6) Evaluating, 3) twenty four items of answers, and 4) twenty four items of scoring criteria. 2. The results of item analysis of the Metacognition test in Science for ninth-grade students found that Index of Consistency of a Metacognition teat and components of Metacognition was  in the range between 0.67-1.00. The Index of consistency of content and appropriateness of language of a Metacognition test was in the range between 0.67-1.00. The difficulty was in the range bwtween 0.22-044, and discrimination was in the range between 0.44-0.88. Furthermore, the overall result of test found that the reliability of the  test was 0.93.

Downloads