การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำาหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

Authors

  • กฤษณา โลหการก
  • ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล
  • สมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย
  • กานจุลี ปัญญาอินทร์

Keywords:

Science Learning Model, Critical Thinking, Educational Opportunity Expansion School, รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร, การคิดอย่างมีวิจารณญาณ, โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณสำหรับนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในโรงเรียนขยายโอกาส ทางการศึกษา กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่กำลังศึกษาภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนขยายโอกาสทางการศึกษาแห่งหนึ่ง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การประถมศึกษาตาก เขต 2 จำนวน 30 คน ได้มาโดยวิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใ่ช้ในการวิจัย ไดแ้กแ่บบทดสอบการคดิอยา่งมวีจิารณญาณ แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ได้รูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน ได้แก่ 1) ขั้นเตรียมความพร้อม 2) ขั้นระบุประเด็นปัญหา 3) ขั้นรวบรวมและพิจารณาข้อมูล 4) ขั้นสร้างองค์ความรู้ 5) ขั้นใช้วิจารณญาณเชื่อมโยง และ 6) ขั้นสรุปและประเมินผล 2) นักเรียนที่ผ่านการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่พัฒนาขึ้น มีคะแนนการคิดอย่างมีวิจารณญาณและคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 3) ความพึงพอใจของนักเรียนต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณ อยู่ในระดับมาก The purposes of this study were to develop and to find the effectiveness of science learning model to enhance critical thinking for seventh grade students in an educational opportunity expansion school. The samples used in this study were 30 students who were studying in seventh grade in the first semester, academic year 2015, from an educational opportunity expansion school under Tak primary educational service area office 2 using purposive sampling. The research Instruments were critical thinking test, achievement test and satisfaction of students toward science learning model questionnaire. The findings of the study revealed that 1) The science learning model to enhance critical thinking was developed and consisted of 6 steps which were 1) preparing 2) identifying problem3) data assembling and considering 4) knowledge constructing 5) using critical thinking and 6) concluding and evaluating. 2) Students who learned with the science learning model to enhance critical thinking had critical thinking mean scores and learning achievement scores after learning statistically significant higher than before learning at .05 level. 3) The satisfaction of students toward science learning model to enhance critical thinking was in a high level.

Downloads