ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จังหวัดศรีสะเกษ

Authors

  • กนิพันธุ์ ปานณรงค์
  • อัญชลี เหมชะญาติ
  • ประคองศรี ถนอมนวล

Keywords:

การดูแลสุขภาพ, ฟันผุ, ฟันผุในเด็ก

Abstract

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาพฤติกรรมด้านทันตสุขภาพและปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับการเกิดโรค ฟันผุในเด็กนักเรียน กลุ่มตัวอย่างเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเขต 1 กลุ่ม เมืองสมเด็จ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน 315 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยการตอบแบบสอบถามด้วยตนเอง ระหว่าง วันที่ 15 พฤศจิกายน พ.ศ. 2558 – 31 มกราคม พ.ศ. 2559 ใช้สถิติ Binary logistic regression ในการวิเคราะห์ หาความสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า กลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 37.1 เป็นโรคฟันผุ โดยค่าเฉลี่ยฟันผุเท่ากับ 5.71 ซี่ ด้านพฤติกรรม ทันตสุขภาพพบว่ากลุ่มตัวอย่าง ร้อยละ 98.7 มีและใช้แปรงสีฟัน ร้อยละ 95.6 ได้รับความรู้เกี่ยวโรคฟันผุ ร้อยละ 88.9 เข้าร่วมกิจกรรมที่ี่เกี่ยวกับทันตสุขภาพที่โรงเรียน แต่ม่ีเพียง ร้อยละ 22.5 ที่แปรงฟันตามเกณฑ์ ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกับการเกิดโรคฟันผุ ได้แก่ ความคาดหวังต่อการไม่เป็นโรคฟันผุ พฤติกรรมการบริโภคอาหาร พฤติกรรมการแปรงฟัน จำนวนค่าขนมที่นักเรียนได้รับต่อวัน ระดับการศึกษาของแม่ การรับรู้ข่าวสาร ผลการวิจัยนี้สามารถนำไปเป็นแนวทางในการป้องกันและแก้ไขการเกิดโรคฟันผุในเด็กนักเรียน The study focuses on the factors related to dental carry among grade 6 students under the primary in first area of Somdej group in Sisaket province form 315 member. Data were collected with self - administered questionnaires from the October, 15, 2015 - December, 31, 2016. Binary logistic regression was used for testing the relationship. The study found that 37.1 percent of sample group have decayed tooth problem which averages 5.71 t. The behavior of dental health 98.7 percent use the tooth brushes, 88.9 percent have the dental health participation in school, standard brushing 22.5 percent. The findings of the study also demonstrated that the significant factors related to tooth problem are expected from tooth stuff, brushing behavior, pocket money per day, mother education, and acknowledgement of information. The result of the study enables to prevent the decayed tooth problem among students

Downloads