การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • พรรณทิพา พรหมรักษ์
  • วิมลรัตน์ จตุรานนท์
  • พชรมณฑ์ หิงคานนท์
  • สุภัคมณฑน์ ขุมทรัพย์ดี
  • จีรสุดา เปลี่ยนสมัย
  • พิมสุพร สุนทรินทร์
  • สุรตา หวานสนิท

Keywords:

curriculum evaluation, หลักสูตรการศึกษาบัณฑิต, สาขาวิชาการสอนภาษาไทย, การประเมินหลักสูตร

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขา วิชาการสอนภาษาไทย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ตามรูปแบบซิปป์ (CIPP model) ในด้านบริบทด้านปัจจัย นำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการวิจัย แบ่งเป็น 5 กลุ่ม ได้แก่ 1) ผู้เชี่ยวชาญ จำนวน 3 คน 2) อาจารย์ประจำหลักสูตร จำนวน 5 คน 3) อาจารย์ผู้สอน จำนวน 67 คน 4) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 20 คนและครูพี่เลี้ยง จำนวน 38 คน 5) นิสิตจำนวน 38 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าสถิติ คือ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิตสาขาวิชาการสอนภาษาไทย การประเมินในทุกด้านมีผลประเมิน เฉลี่ยอยู่ในระดับมาก 1) ผลการประเมินด้านบริบท ในภาพรวมของวัตถุประสงค์ โครงสร้างของหลักสูตร และเนื้อหารายวิชา มี ความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (m = 4.31, s = 0.73) โดยวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและโครงสร้างของหลักสูตรใน ทุกหมวดวิชามีความเหมาะสม เนื้อหารายวิชาสอดคล้องกับวัตถุประสงค์ของหลักสูตรและความต้องการของสังคม สามารถนำไปประยุกต์ใช้ในวิชาชีพ 2) ผลการประเมินด้านปัจจัย นำเข้าในภาพรวม พบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (m = 3.89, s = 0.76) การกำหนดคุณสมบัติของนิสิตกระบวนการคัดเลือกนิสิตมีความเหมาะสม อาจารย์ผู้สอนมีคุณสมบัติ มีความรู้ และ ประสบการณ์ในการสอนอย่างเหมาะสมในระดับมาก 3) ผลการประเมินด้านกระบวนการ ในภาพรวมพบวา่ มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (m = 4.29, s = 0.61) การจัดการเรียนการสอน และการประเมินผลของหลักสูตรมีความเหมาะสมในระดับมาก 4) ผลการประเมินด้านผลผลิต ในภาพรวมพบว่า มีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (m = 4.28, s = 0.59) นิสิตมีผลการเรียนรู้ คุณลักษณะบัณฑิตที่พึงประสงค์ในระดับมาก ผู้ใช้นิสิตมีความพึงพอใจต่อการปฏิบัติงานของ นิสิตในระดับมาก The purpose of this research was to study the curriculum evaluation of the Bachelor of Education Program (5 years) in Thai Language Teaching (Revised A.D.2011) by using CIPP model in context, input, process, and product. The populations of the study were categorized into 5 groups 1) 3 experts 2) 5 curriculum-board members 3) 67 instructors 4) 20 school directors and 38 teachers 5) 38 students. The instruments used in this study were questionnaires and interview form. The collect data were analyzed by using percentage, mean, standard deviation and content analysis. The findings of this study were as follows: The result of the curriculum evaluation on the Bachelor of Education Program in Thai Language Teaching indicated that the participant evaluatedall components at the high level. 1) The evaluation of the context in curriculum objectives, curriculum structure and contents were at high level. (m = 4.31, s = 0.73) The results found that the curriculum objectives and curriculum structure were appropriated in all areas. Subject contents appropriated to curriculum objectives and social needs and teaching career in application 2) The evaluation of the input was at high level. (m = 3.89, s = 0.76) Instructor’s qualification, knowledge, and experience of teaching were appropriate at high level 3) The evaluation of the process was at high level. (m = 4.29, s = 0.61) Learning instruction and assessments were appropriate at high level 4) The evaluation of the product was at high level. (m = 4.28, s = 0.59) Student had learning outcomes and desired characteristics at high level. School directors and teachers were highly appropriate on student’s work.

Downloads