การประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา

Authors

  • เชวง ซ้อนบุญ
  • ศิรประภา พฤทธิกุล
  • ณฐมนต์ คมขำ
  • สุกัลยา สุเฌอ
  • กัลยาณี อินต๊ะสิน

Keywords:

curriculum evaluation, early childhood education, การประเมินหลักสูตร, การศึกษาปฐมวัย

Abstract

การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการศึกษา ปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา โดยใช้กรอบของการประเมิน 3 มิติ ได้แก่ 1) การประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 2) มาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษา แห่งชาติ พ.ศ. 2552 และ3) รูปแบบซิปป์ 4 ด้าน ได้แก่ บริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการ และผลผลิต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้มี จำนวน 190 คน ประกอบด้วยผู้เชี่ยวชาญ อาจารย์ประจำหลักสูตร อาจารย์ผู้สอนในหลักสูตร นิสิตสาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย ผู้บริหารสถานศึกษาและครูพี่ีเลี้ยง เครืองมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามและ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การเปรียบเทียบข้อมูล และการจัดกลุ่มข้อมูล ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1. ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ตามกรอบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในระดับหลักสูตร พ.ศ. 2557 พบว่า องค์ประกอบที่ 2 บัณฑิต อยู่ในระดับดีมาก องค์ประกอบที่ 6 สิ่งสนับสนุนการเรียนรู้และองค์ประกอบที่ 4 อาจารย์ อยู่ในระดับดี องค์ประกอบที่ 3 นักศึกษา และองค์ประกอบที่ 5 หลักสูตรการเรียนการสอน การประเมินผู้เรียน อยู่ในระดับปานกลาง โดยสรุปภาพรวมทั้ง 6 องค์ประกอบอยู่ในระดับดี  2. ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ตามกรอบมาตรฐานคุณวุฒิระดับอุดมศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2552 พบว่า ผลการดำเนินงานผ่านเกณฑ์ จำนวน 11 ตัวบ่งชี้ จากตัวบ่งชี้ที่ดำเนินการทั้งหมด 11 ตัวบ่งชี้ คิดเป็นร้อยละ 100 3. ผลการประเมินหลักสูตรการศึกษาบัณฑิต (หลักสูตร 5 ปี) สาขาวิชาการศึกษาปฐมวัย (หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554) ตามรูปแบบซิปป์ พบว่า 3.1) ผลการประเมินด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการโดย ผู้เชี่ยวชาญมีความเหมาะสมและมีข้อเสนอแนะที่ควรปรับปรุง 3.2) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจด้านบริบทโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านปัจจัยนำเข้าและด้านกระบวนการของหลักสูตรโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก 3.3) ผลการประเมินหลักสูตรด้านผลผลิต จำแนกเป็น 3.3.1) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจด้านคุณลักษณะ พึงประสงค์ของนิสิตจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และ 3.3.2) ผลการวิเคราะห์ความพึงพอใจ ด้านผลการเรียนรู้สำคัญของหลักสูตรจากผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก This study aimed at evaluating the bachelor of education program (5 years curriculum) in Early Childhood education (Revised A.D. 2011), Faculty of Education, Burapha University following the Internal Quality Assurance system at program level 2014, the Thai Qualifications Framework for Higher Education 2009, and CIPP evaluation model included context, input, process and product. A total number of 190 were experts, the curriculum committee, academic staffs, students, school directors and mentors. The data were collected through a questionnaire survey and structured interviews and statistically analysed by mean, standard deviation, data comparison and coding. The findings revealed that: 1. An evaluation of the bachelor of Education program (5 years curriculum) in early childhood education (revised A.D. 2011), following the internal quality assurance at program level 2014 showed that, component 2, Graduates, was excellent. Component 6, Learning facilities and component 4, Academic staffs were considered good. Also, component 3, Students and component 5, course curriculum were average, as a whole, six components were good. 2. An evaluation of the bachelor of Education program (5 years curriculum) in Early Childhood education (revised A.D. 2011), showed that the performance met the criteria of the internal quality assurance at program level 2014 as for 11 indicators of Thai Qualification Framework 2009. All 11 indicators were 100 percent operated. 3. An evaluation of the bachelor of Education program (5 years curriculum) in early childhood education (revised A.D. 2011), following the CIPP evaluation model showed that 3.1) The context, input and process evaluated by experts stated both decent aspects and recommendations for improving course curriculum. 3.2) An analysis of satisfaction level in context was overall excellent. Input and process of the course curriculum were good. 3.3) Product evaluations were 3.3.1) an analysis of satisfaction level in students’ desired characteristics from stakeholders was good and 3.3.2) an analysis of satisfaction level in course curriculum learning outcome from stakeholders was good.

Downloads