ปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น : กรณีศึกษาโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออก

Authors

  • อารีวรรณ คูหเพ็ญแสง
  • สุรีพร อนุศาสนนันท์
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น

Keywords:

จิตสาธารณะ, นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น, การศึกษากับสังคม

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างตัวแปรปัจจัยกับจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น 2) เพื่อสร้างสมการทำนายความเป็นผู้มีจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้นและ 3) เพื่อศึกษาปรากฏการณ์เชิงตัวแปรที่สามารถทำนาย ความเป็นผู้มีจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนต้นโรงเรียนสาธิตในภาคตะวันออก จำนวน 282 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานทั่วไป แบบสอบถามเกี่ยวกับปัจจัยที่ส่งผลต่อการมีจิตสาธารณะของนักเรียน และแบบสอบถามเกี่ยวกับจิตสาธารณะ วิเคราะห์ค่าความตรง และความเชื่อมั่นของ เครื่องมือเป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนด การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรม SPSS ในการวิเคราะห์ค่าสถิติพื้นฐานและการ วิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple regression analysis) ผลการวิจัยพบว่า ตัวแปรที่มีผลต่อพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ได้แก่ ตัวแปรการรับรู้ความสามารถของตนเอง สำหรับตัวแปรการอบรมเลี้ยงดูแบบ เข้มงวดกวดขันและการรับข่าวสารจากสื่อมวลชน ส่งผลต่อ พฤติกรรมการมีจิตสาธารณะ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนตัวแปรอื่นที่เหลือไม่พบนัยสำคัญทางสถิติ โดยตัวแปรทั้งหมดสามารถร่วมกันทำนายตัวแปรพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของนักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ร้อยละ 35.60 และสามารถสร้างสมการถดถอยพหุคูณ เพื่อทำนายพฤติกรรมการมีจิตสาธารณะของ นักเรียนมัธยมศึกษาตอนต้น ได้ดังนี้สมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนดิบ PM = 2.150 +.353**(SELF) +.009 (FUTR)+.008 (PAR_M) – .033 (REAS)        – .053*(STRC) – .019 (NEGL) + .067 (TEA_M) + .004 (REL_T)         + .036 (FRI_M) – .064 (REL_F) + .025 (IMP_M) + .099*(MD_NEWS) สมการถดถอยพหุคูณในรูปคะแนนมาตรฐาน Zpm = .444**ZSELF+.014 ZFUTR+.012 ZPAR_M– 056 ZREAS– .111*ZSTRC         –.036 ZNEGL + .116 ZTEA_M + .007 ZREL_T + .061 ZFRI_M – .110 ZREL_F          + .049 ZIMP_M + .161*ZMD_NEWS The purposes of this research were: 1) to study the relationship among factors and public mind of lower secondary students 2) to construct a predictive equation of public mind of lower secondary students, and 3) to study the predictability of the variables in predicting the public mind of lower secondary students. The sample consisted of 282 lower secondary students of demonstration schools in the eastern region. The research instrument was questionnaire asking on students’ demographical data, factors influencing students’ public mind, and students’ public mindedness. All sub-scales questions met the requirement of validity and reliability. Data were analyzed by descriptive statistic and multiple regression analysis. The results indicated that factors those significantly affected the public mind of lower secondary students consisted of 3 variables, they were self-efficacy, strict family rearing and mass media consumption. Other variables were not significantly affected the students public mind. All variables could predict the public mind of student for 35.60 %.The regression equation of raw scores was PM = 2.150 + .353**(SELF) + .009 (FUTR) + .008 (PAR_M) – .033 (REAS)        – .053*(STRC) – .019 (NEGL) + .067 (TEA_M) + .004 (REL_T)         + .036 (FRI_M) – .064 (REL_F) + .025 (IMP_M) + .099*(MD_NEWS) The regression equation of standard scores was Zpm = .444**ZSELF + .014 ZFUTR + .012 ZPAR_M – .056 ZREAS – .111*ZSTRC         –.036 ZNEGL + .116 ZTEA_M + .007 ZREL_T + .061 ZFRI_M – .110 ZREL_F          + .049 ZIMP_M + .161*ZMD_NEWS

Downloads