การศึกษาความพึงพอใจ สภาพปัญหา และความต้องการของนิสิต ที่มีต่อการบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Keywords:
ความพึงพอใจ, สภาพปัญหา, ความต้องการ, การบริการข้อมูลข่าวสาร, สื่อประชาสัมพันธ์, Satisfaction, ProblemsAbstract
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อการศึกษาความพึงพอใจ สภาพปัญหา และความต้องการของนิสิตทีมีต่อการรับบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ ของคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 375 คน ซึ่งได้มาโดยคำนวณหาขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีการคำนวณจากสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t-test, F-test และ Scheffe’ ผลการวิจัย พบว่า 1) นิสิตมีความพึงพอใจ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่ามีความพึงพอใจอันดับสูงสุด คือการได้รับการบริการข้อมูลข่าวสารประชาสัมพันธ์ ผ่านสื่อใหม่ 2) นิสิตมีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่าสภาพปัญหาระดับมากที่สุด คือ การประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อมวลชน เรื่องข่าวสารมีปริมาณน้อยและไม่ทันต่อเหตุการณ์ของการให้บริการข้อมูล ข่าวสาร 3) ด้านความต้องการโดยรวมมีความต้องการระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ความต้องการ ระดับมากที่สุดคือด้านการบริการข้อมูลข่าวสารกิจกรรมการเรียนการสอน และ กิจกรรมทางการศึกษา ผ่านสื่อใหม่ 4) นิสิตที่มีเพศต่างกันมีความพึงพอใจ มีสภาพปัญหา และความต้องการไม่แตกต่างกัน 5) นิสิตที่มีระดับการศึกษา ต่างกันมีความพึงพอใจ และความต้องการต่อการบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน แต่มีความคิดเห็นต่อสภาพปัญหาในการบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์แตกต่างกัน 6) ผลการทดสอบความแตกต่างสภาพปัญหาของนิสิต จำแนกตามระดับการศึกษาเป็นรายคู่พบว่า นิสิตระดับการศึกษาต่างปันนั้นมีสภาพปัญหาแตกต่างกันอย่างไม่มีนัยสำคัญ และความต้องการของนิสิต ที่มีต่อการบริการข้อมูลข่าวสารจากสื่อประชาสัมพันธ์ จำแนกตามระดับการศึกษาเป็นรายคู่พบว่า ความต้องการนิสิตระดับปริญญาโทมีความแตกต่างกับค่าเฉลี่ยความ คิดเห็นของนิสิตระดับปริญญาเอกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 The objective of this research was to study the student’s satisfaction, problems and needs upon the information data service from public relations media of Faculty of Education, Burapha University. The samples group in this study of 375 selected from the method of Taro Yamane sample. The statistics used for analyzing the data were percentage, mean, standard deviation, t-test , F-test and Scheffe’ The results showed that; 1) the student’s overall satisfaction in the information data service from public relations media were at the high level ; when considered by aspects, namely to receive news releases via new media services with the highest level. 2) the student’s overall problems were at the high level ; when considered by aspects, namely the public relation via mass media about the data information low level , modernization and timeliness of data information service with the highest level. and 3) the student’s overall needs were at the high level ; when considered by aspects, namely to data information service about learning activities, teaching and educational activities via new media with the highest level. 4) There is dissimilarity on gender aspect; the students of different genders reported not different levels of satisfaction, problems and needs. 5) There is also dissimilarity on the aspect of different educational level reported different levels of satisfaction and needs, but the opinion upon problems was not different. 6) The study to pairedtesting found that the students of different educational levels the problems were not significantly different . Furthermore the needs of students in the information data service from public relations media by the level of the pair that the needs for master’s degree students have differences of opinion with the doctoral students level of statistical significance .05.Downloads
Issue
Section
Articles