การสร้างหลักสูตรอบรมความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุ ในงานอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชา เทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา
Keywords:
Training Courses, Safety, หลักสูตรอบรม, ความปลอดภัยAbstract
การวิจัยเรื่อง การสร้างหลักสูตรอบรมความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรมเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศกึษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา เป็นการวิจัยเชิงทดลอง มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1. เพื่อสร้างหลักสูตรอบรมความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในงาน อุตสาหกรรม 2. เพื่อศึกษาผลการอบรมความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรมของนิสิตสาขา วิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้เป็น นิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 20 คน เครื่องมือที่ใช้ใน การวิจัยจำนวน 3 ชนิด คือ 1. แบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม มีลักษณะเป็นข้อคำถามชนิดปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ มีค่าความยากอยู่ ระหว่าง 0.500 – 0.700 ค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.333 –0.800 และ ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้ค่า สัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค ซึ่งมีค่า = 0.907 2. หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ความ ปลอดภยัและการปอ้งกนัอบุตัเิหตใุนงานอตุสาหกรรม มอีงคป์ระกอบตามแนวคดิของ Taba (1962: 214) 4 ประการ คือ วัตถุประสงค์ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์การเรียน และการประเมินผล มีค่า E1 = 80.50 และค่า E2 = 81.00 3. แบบประเมินหลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม มีค่าความเชื่อมั่น โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค = 0.928 ผู้วิจัยดำเนินการเก็บรวบรวมข้อมูลด้วยตนเอง โดยเริ่มดำเนินการ ดังนี้ 1. ทำการทดสอบผู้เข้ารับการฝึกอบรมด้วยแบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม 2. ดำเนินการฝึกอบรมด้วย หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม 3. ทำการทดสอบผู้เข้ารับการ ฝึกอบรมหลังเสร็จสิ้นการฝึกอบรมด้วยแบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรม 4. ทำการประเมินผลการฝึกอบรมด้วย แบบประเมินผล ผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้ 1. คะแนนจากแบบทดสอบ การทดสอบผู้เข้ารับ การฝึกอบรมด้วยแบบทดสอบก่อน-หลังการฝึกอบรมและ ผลการประเมินจากแบบประเมินนำมาวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และค่าเบียงเบนมาตรฐาน 2. ทำการเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการฝึกอบรมโดยใช้การทดสอบทีแบบไม่อิสระ (dependent t-test) 3. สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์หาคุณภาพของเครื่องมือ ได้แก่ ค่า IOC ค่าความยาก ค่าอำนาจจำแนก ค่าความเชื่อมั่น โดยใช้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟ่าของครอนบัค และการหาประสิทธิภาพบทเรียนจะใช้คะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบ หรือกิจกรรมระหว่างอบรมมาคำนวณร้อยละ ซึ่งจะเรียกว่า Event1 หรอื E1 มาเปรียบเทียบกับคะแนนเฉลี่ยในรูปของร้อยละจากการทำแบบทดสอบหลังอบรมซึ่งจะเรียกว่า Event 2 หรือ E2 โดยนำมาเปรียบเทียบกันในรูปแบบ E1/ E2 เกณฑ์ที่ใช้วัดกำหนดมาตรฐานไว้ 80/80 สรุปผลการวิจัย 1. หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม มีองค์ประกอบ หลัก 4 ประการ คือ วัตถุประสงค์ เนื้อหาวิชา ประสบการณ์การเรียน และการประเมินผล ดำเนินการตรวจสอบคุณภาพหลักสูตร โดยการทดลองใช้หลักสูตร จำนวน3 ครั้ง คือ ครั้งที่ 1 นำไปทดลองใช้ กับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา รุ่น 57 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2557 จำนวน 3 คน พบว่า นิสิตรุ่น 57 มีผลสัมฤทธิ์ ตามวัตถุประสงค์ของหลักสูตร ครั้งที่ 2. นำไปทดลองใช้กับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา รุ่น 57 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2557 พบว่า มีค่า E1 = 78.75 และ ค่า E2 =81.00 และครั้งที่ 3 นำไปทดลองใช้กับนิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา รุ่น 58 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยบูรพา จำนวน 20 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 พบว่า มีค่า E1 =80.50 และค่า E2 = 81.00 และผลการประเมินหลักสูตรฝึกอบรมฯ จากผู้เข้ารับการฝึกอบรม อยู่ในระดับมาก 2. ผลการพัฒนานิสิตสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา โดยใช้หลักสูตรฝึกอบรม เรื่อง ความปลอดภัยและการป้องกันอุบัติเหตุในงานอุตสาหกรรม พบว่า ผู้เข้ารับการพัฒนาทั้งหมด 20 คน เป็นเพศชาย 17 คน (ร้อยละ 85.00 ) เพศหญิง 3 คน (ร้อยละ 15.00 ) ผู้เข้ารับการอบรมผ่านเกณฑ์ จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ 100 The study entitled “Creating the Training Course on Industrial Safety and Accident Prevention for Students studying Industrial Technology Education at the Faculty of Education, Burapha University” has two main objectives – 1) to develop a study course concerning safety and accident prevention in the Industry; and 2) to evaluate the result of the safety and accident prevention training program displayed by students studying Industrial Technology Education, at the Faculty of Education, Burapha University. The participants in this study were 20 students studying at the Faculty of Education, Burapha University. Random sampling technique was used to identify the participant. The researcher developed 3 instruments to collect data and use in this study. They were 1) a pretest and posttest multiple-choice which had its difficulty level between 0.500 to 0.700, its discrimination between 0.333 to 0.800 and its reliability score of the coefficient alpha at 0.907; 2. Lessons and curriculum concerning Safety and Accident Prevention in the Industry the training course curriculum was organized with Taba’s models : objectives, content, learning experience and evaluation (1962: 214); and 3. The training satisfactory evaluation form. The researcher conducted and collected data himself starting from asking his participants to complete their pretest; providing them with treatment (designed training program); asking them to complete their posttest and the evaluation form. After the data was collected, mean and standard deviation were used to compute. Also the dependent t-test was used to evaluate the differences in means between pretest and posttest score. To analyze the quality of the training instrument, the researcher asked experts in the field to verify their content validity and checked the IOC score. Difficulty level, Discrimination level, Reliability level were scrutinized by the use of coefficient alpha. the test of E1 and E2 score were also performed and reported in this study. It was found in this study that 1. The development of Safety and Accident Prevention in the Industry Training program which contain all 4 elements 1) objectives; 2) content; 3) Learning Experiences; and 4) Evaluation, produced high effective result, in other words, the result meat all designed objectives. This was approved after trying out 3 times – a group of 3 students studying in Batch 57 in Industrial Technology Education major, at the Faculty of Education, Burapha University in their first semester, a group of 20 students at the same batch in their second semester (E1 = 78.75 and E2 =81.00); and a group of students studying in Batch 58 in their second semester (E1 =80.50 and E2 = 81.00.) It was also found that participants/trainees’ satisfactory level was high. 2. The study reported that all 20 participants who are 17 male (85.00 percent) and 6 female (15 percent) passed all criteria set in the objectives.Downloads
Issue
Section
Articles