การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1

Authors

  • ภูรินทร์ แตงน้อย
  • ชนินันท์ พฤกษ์ประมูล
  • ณสรรค์ ผลโภค
  • สมสรรญก์ วงษ์อยู่น้อย

Keywords:

การแก้ปัญหา, การเรียนรู้, การจัดการเรียนรู้

Abstract

การวิจัยครั้งนี้ จุดประสงคเ์พื่อ 1) พัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรูู้้ เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2) ศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ที่พัฒนาขึ้น กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือ นักเรียนที่ศึกษาในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนแห่ง หนึ่งในสังกัดเทศบาลเมืองชัยนาท จำนวน 30 คน โดยเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเฉพาะเจาะจง เนื้อหาที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ เรื่อง บรรยากาศ และลมฟ้าอากาศ จำนวน 20 ชั่วโมง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบวัดความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ที่ผู้วิจัยได้พัฒนาขึ้นวิิคราะห์ผลโดยการวิิคราะห์คะแนนจุดตัดของความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และประเมินจากการเปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1. รูปแบบการจัดการเรียนรู้ที่พัฒนาขึ้น ประกอบด้วย 6 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นสร้างความสนใจและนำเสนอมโนทัศน์ 2) ขั้นอธิบายและทดสอบความถูกต้องของมโนทัศน์ 3) ขั้นจัดโครงสร้างความรู้และขยายความรู้ 4) ขั้นตระหนักรู้ปัญหาและตั้งสมมติฐาน 5) ขั้นสืบค้นข้อมูลและวิเคราะห์ข้อมูล 6) ขั้นสรุปผล นำเสนอผลงาน และประเมินค่า 2. นักเรียนที่เรียนด้วยรูปแบบการจัดการเรียนรู้ฯ ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้น มีความสามารถในการแก้ปัญหาทาง วิทยาศาสตร์หลังเรียนเพิ่มขึ้นกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และสูงกว่าคะแนนจุดตัด The purposes of this research were: 1) to develop the learning model to promote scientific problem-solving ability for seventh grade students and 2) to study the effectiveness of learning model to promote scientific problem-solving ability for seventh grade students. The samples used in this study were 30 students who were studying in seventh grade in academic year 2015 of a municipal school in Chai Nat province, Thailand. Purposive sampling was applied for identifying the samples. The concept used in this research were atmosphere and weather for 20 hours. The research instrument of this study was the scientific problem-solving ability test developed by researcher. The research data were analyzed using cutting score of scientific problem-solving ability of students and comparing pre-test and post-test of students’ scores of scientific problemsolving ability. The results of the study were as follows: 1. The learning model to promote scientific problem-solving ability was composed of six steps; 1) engagement and concept presentation 2) explanation and concept checking 3) knowledge organization and elaboration 4) problem awareness and writing hypothesis 5) investigating and analyzing data and 6) making conclusion, presentation and evaluation. 2. The students who learned with the learning model had problem-solving ability score after learning higher than before, and higher than the cutting score at a significant level of .05.

Downloads