การประเมินผลหลักสูตร สาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์
Keywords:
Evaluation, Curriculum, การประเมินผล, หลักสูตรAbstract
วัตถุประสงค์ของการวิจัยครั้งนี้ เพื่อประเมินหลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรมศึกษา ภาควิชาการอาชีวศึกษาและพัฒนาสังคม คณะศึกษาศาสตร์ ให้มีความครอบคลุมของหลักสูตร 4 ด้าน ได้แก่ ด้านบริบท ด้านปัจจัยเบื้องต้น ด้านกระบวนการและด้านผลผลิต โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย อาจารย์ จำนวน 6 คน ผู้สำเร็จการศึกษา จำนวน 69 คน นิสิต จำนวน 52 คน และผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้างของผู้สำเร็จ การศึกษา จำนวน 28 คน รวมทั้งสิ้น 155 คน เครื่องมือที่ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเป็นแบบสอบถามด้วยมาตราส่วน ประมาณค่า (Rating Scale) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัย พบว่า 1. การประเมินด้านบริบท พบว่าในด้านวัตถุประสงค์ โครงสร้าง และเนื้อหาหลักสูตร โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก 2. การประเมินด้านปัจจัยเบื้องต้น พบว่าในด้านความพร้อมของอาจารย์ ความพร้อมของนิสิต ความพร้อม ของสื่อการเรียนการสอน และความพร้อมของอาคารสถานที่โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า ด้านความพร้อมของอาจารย์ตามความคิดเห็นของกลุ่มอาจารย์มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 3. การประเมินด้านกระบวนการ พบว่าในด้านการจัดการเรียนการอสน สื่อการสอน และกิจกรรมเสริมหลักสูตร และการวัดผลและประเมินผลรายวิชา โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมากและมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดการเรียนการสอน ตามความคิดเห็นของกลุ่มอาจารย์มีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด 4. การประเมินด้านผลผลิต พบว่าในด้านคุณลักษณะของนิสิต โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก 5. การประเมินคุณลักษณะของผู้สำเร็จการศึกษา ตามความคิดเห็นของผู้บังคับบัญชาหรือนายจ้าง พบว่า โดยรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก This research aimed to evaluate Industrial Technology Education Curriculum of The Department of Education Vocational and Social Development; Faculty of Education by using CIPP Model. Evaluation method evaluated 4 aspects of evaluation: context, input, process and product. The 155 samples comprised of 6 instructors, 69 graduates, 52 students and 28 administrators and employers. The instrument used for gathering data was a five rating questionnaire. The data obtained were then analyzed by percentage, means and standard deviation Findings of the study were as follows : 1. The context evaluation showed that curriculum objectives, structure and subject matter, as a whole, were rated at highly appropriate 2. The input evaluation showed that instructor’s readiness, students, teaching aids and buildings and ground, as a whole, were rated at the highly appropriate, when each aspect was considered, it was found that instructor’s readiness, according to the opinions of instructors was the highest appropriate. 3. The process evaluation showed that instruction, teaching aids, co-curriculum activities and evaluation, as a whole, were rated at high and highest appropriate, when each aspect was considered, it was found that instruction, was rated at the highest level of appropriation. 4. The product evaluation showed that characteristics of students as a whole, were rated at highly appropriate. 5. The evaluation of characteristics of graduates by administrators and their employers showed that the graduates, as a whole, were rated at highly appropriate.Downloads
Issue
Section
Articles