จิตตปัญญาศึกษากับภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุ

Authors

  • วรวุฒิ เพ็งพันธ

Keywords:

ความตระหนักในศักยภาพตน, จิตตปัญญาศึกษา

Abstract

จิตตปัญญาศึกษาเป็นการศึกษาที่มุ่งเน้นการสืบค้นสำรวจภายในตนเองการเรียนรู้ผ่านประสบการณ์ตรงและ การรับฟังด้วยใจที่เปิดกว้างซึ่งจะนำไปสู่การตระหนักรู้จักตนเองการหยั่งรู้ และความเปิดกว้างยอมรับความหลากหลาย และอุดมของโลก ทั้งนี้จากการตระหนักเข้าใจตนเองจะส่งผลให้เกิดความชื่นชมในคุณค่าของประสบการณ์ของตนเองและผู้อื่นด้วย ซึ่งกระบวนการที่สำคัญดังกล่าวนี้จะทำให้เข้าใจผู้สูงอายุได้เป็นอย่างดีผ่านแนวคิดภาวะธรรมทัศน์ในวัยสูงอายุ ซึ่งหมายถึง ภาวะที่บุคคลในวัยสูงอายุมีความเข้าใจและยอมรับในปรากฏการณ์ของชีวิต ยอมรับว่าทุกสิ่งในโลกมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน รวมทั้งมีวุฒิภาวะในการมีสัมพันธภาพต่อผู้อื่นและสังคม ซึ่งประกอบไปด้วย 3 มิติ ได้แก่ มิติการมอง โลก มิติการมองตน และมิติการมีสัมพันธภาพต่อผู้อื่นและสังคม Contemplative education is to study the integration of introspection, experiential learning, and open-mindedness. This concept leads to self-understanding, deep insight, and openness of diversity. Regarding to self-understanding, people appreciate the experiential value of both self and others. Based on contemplative education, older people are understood through the theory of gerotranscendence. This means that they understand and respect life. In addition, older people have maturity of relationships between others and society. This theory related to three major dimensions: cosmic dimension, self-dimension, and social and individual relations dimension. These can be explained that the cosmic dimension is broad existential changes. The dimension of self involves changes in the view of present and retrospective self. Finally, the social and relations dimension perceives developmental changes.

Downloads