ภาวะผู้นำทางวิชาการของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายโรงเรียน อำเภอชาติตระการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา พิษณุโลก เขต 3

Authors

  • ชฑรัช พรมบ่อ
  • ประภาพรรณ รักเลี้ยง
  • ประวัติ ยงบุตร

Keywords:

ภาวะผู้นำ, ผู้บริหารการศึกษา

Abstract

งานวิจัยฉบับนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา เปรียบเทียบ และศึกษาแนวทางในการพัฒนาภาวะผู้นำทางวิชาการของ ผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนอำเภอชาติตระการ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพิษณุโลก เขต 3 จำแนกตามวุฒิการศึกษา ประสบการณ์ทำงาน และขนาดสถานศึกษา ซึ่งกลุ่มตัวอย่าง คือ ผู้บริหารสถานศึกษา 9 คน และครูผู้สอน 159 คน กำหนดกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตาราง Krejcie & Morgan (1970) ใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม แบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) และการทดสอบค่าเอฟ (F-test)ผลการวิจัยพบว่าความคิดเห็นของผู้บริหารและครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 3.69 ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างวุฒิการศึกษาและขนาดสถานศึกษาที่ปฏิบัติงานอยู่ไม่ได้ส่งผลต่อความคิดเห็นเกี่ยวกับภาวะผู้นำทางวิชาการ ของผู้บริหารสถานศึกษา กลุ่มเครือข่ายโรงเรียนอำเภอชาติตระการ ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบระหว่างประสบการณ์ใน การปฏิบัติงานด้านการวางแผนเพื่อพัฒนาความเป็นครูมืออาชีพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 นำไป เปรียบเทียบเป็นรายคู่ วิธีการของ Scheffe มีความแตกต่างกันจำนวน 1 คู่ คือ ระหว่างประสบการณ์น้อยกว่า 5 ปี และ ประสบการณ์มากกว่า 10 ปีขึ้นไป โดยภาพรวมไม่แตกต่างอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ข้อเสนอแนะเพื่อการพัฒนา 1) ด้าน การประเมินนักเรียน ผู้บริหารควรสร้างความเข้าใจถึงความสำคัญในการประเมินผลนักเรียนให้ประเมินจากสภาพจริงและ เป็นปัจจุบัน สนับสนุนให้ครูจัดเอกสารเกี่ยวกับการวัดผล เพื่อรายงานผลแก่ผู้ปกครองทุกภาคเรียน และสอดคล้องกับ วัตถุประสงค์ของการเรียน และให้ครูศึกษาค้นคว้าวิจัยนวัตกรรมเกี่ยวกับการประเมินผลนักเรียน 2) ด้านการจัดโครงการสำหรับเด็กที่มีความต้องการพิเศษ โรงเรียนต้องประชาสัมพันธ์การจัดการเรียนร่วมทั้งในและนอกหน่วยงานเพื่อให้ผู้ปกครอง และชุมชนรับรู้เกี่ยวกับการจัดศึกษานักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนในโรงเรียน และขอรับการสนับสนุนเรื่อง งบประมาณ สิ่งอำนวยความสะดวก สื่อ บริการและความช่วยเหลือกับเด็กที่มีความต้องการพิเศษกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ควรให้เด็กได้รับอย่างทั่วถึงโดยเฉพาะเด็กในพื้นที่ห่างไกล จะต้องรับนักเรียนที่มีความต้องการพิเศษเข้าเรียนในโรงเรียน และควรมีครูพี่เลี้ยงเด็กพิเศษในโรงเรียน The Purpose of this research aims to study the academic leadership, to compare administrators’ academic leadership classified by their education backgrounds, working experience and school sizes. And study of development of a academic leadership of school administrators in community school Chattrakarn district under the jurisdiction of Phitsanulok Primary Educational Service Area Office 3. The samples population of this study were 9 school administrators and 159 teachers, the sample groups were randomly selected from Krejcie & Morgan’s table. Tools used 5 Rating questionnaires, data analysis were percentage, mean, standard deviation t-test and F-test, the research results were found that:All 5 aspects of academic leadership were in high level on overall with an average of 3.69 Comparative analysis between education and school size doesn’t affected by comments about the academic leadership of school administrators in community School Charttrakarn district. Comparative analysis between the experience to work in the planning for the development of a professional teacher difference was statistically significant at 0.05 compared to the pair by means of Scheffe’s technique the difference between the pair is number one partner is less than five years experience and more than 10 years of experience as a whole is no different. The guidelines for developing 1) The assessment of students, administrators should create an understanding of the importance of student assessment, evaluate the real and currents and administrators should be encouraged to form a document, report the results to parents every semester and support teachers to innovative research on the assessment of students to apply classroom. 2) The program for children with special needs. Schools must promote inclusive education both inside and outside agencies to parents and community awareness about students with special needs to attend school and support budget Facilities media services and support to children with special needs to the relevant authorities and allow the children to get, especially children in remote areas must get a students with special enrolled in school and should have nanny teachers in schools.

Downloads