การศึกษาความเข้มแข็งอดทนในนิสิตระดับปริญญาตรี ด้วยการวิเคราะห์องค์ ประกอบเชิงยืนยัน

Authors

  • ดลดาว ปูรณานนท์
  • ณัฐกฤตา งามมีฤทธิ์
  • อาวีพร ปานทอง
  • อรสา เอี่ยมรัศมีโชติ

Keywords:

Hardiness, Confirmatory Factor Analysis, Undergraduate Student, ความเข้มแข็งอดทน, การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน, นิสิตระดับปริญญาตรี

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาความเข้มแข็งอดทนในนิสิตระดับปริญญาตรีด้วยการวิเคราะห์องค์ประกอบ เชิงยืนยัน กลุ่มตัวอย่างเป็นนิสิตระดับปริญญาตรี จำนวน 1,166 คน (ชาย 504 คน, หญิง 661 คน) มีช่วงอายุเฉลี่ย 20.76 + .84 อยู่ระหว่าง 20-25 ปีซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ คือ แบบวัด ความเข้มแข็งอดทนของ Kobasa (1982) ที่ผู้วิจัยนำมาพัฒนาให้มีความสอดคล้องกับบริบทของนักศึกษาไทย ซึ่งมีค่าอำนาจ จำแนกอยู่ระหว่าง .55 - .73 ค่าความเที่ยงของแบบวัดทั้งฉบับเท่ากับ.96 ผลการวิจัยพบว่า โมเดลความเข้มแข็งอดทนของ นักศึกษาระดับปริญญาตรีมีกลมกลืนสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ ( 2 χ = 581.97, df = 282, 2 χ / df = 2.06, GFI = .97, AGFI = .95, CFI =1.00, RMSEA = .030, RMR = .016) มีองค์ประกอบ 3 องค์ประกอบ คือ ด้านการควบคุม สถานการณ์ ด้านการผูกมัดตนเอง และด้านความท้าทาย ค่าน้ำหนักองค์ประกอบแต่ละด้านเท่ากับ 0.94, 0.98 และ 0.92 ตามลำดับ และผลการวิจัยยังพบว่า นักศึกษามีระดับของความเข้มแข็งอดทนอยู่ในระดับมาก ( X =2.63, S.D.= .67) ซึ่งแยก ตามรายด้านดังนี้ ด้านควบคุมสถานการณ์ ( X =2.74, S.D.= .91) และด้านความท้าทายในระดับมาก ( X =2.64, S.D. = .88) ขณะที่ด้านการผูกมัดตนเองในระดับน้อย ( X =2.25 S.D.=0.87) ซึ่งควรมีการพัฒนาโปรแกรมเพื่อ เสริมสร้างความเข้มแข็งอดทนในด้านการผูกมัดตนเองของนิสิตในระดับปริญญาตรีให้อยู่ในระดับที่เหมาะสมต่อการดำเนิน ชีวิตประจำต่อไป           This study aimed to investigate the hardiness of undergraduate student using confirmatory factor analysis. Participants were 1,166 undergraduates (604 male and 661 female).Their mean age was 20.76 84. + years old with age range between 20-25 years old) were randomly selected by Multi-Stage-Sampling. Instruments were the Hardiness Scale developed from Kobasa’s Hardiness Scale. The discrimination and the validity of the scale were (.55 - .73 and .96 respectively) Findings showed that the model was valid and well-fitted the empirical data (2 χ = 581.97, df = 282, 2 χ / df = 2.06, GFI = .97, AGFI = .95, CFI =1.00, RMSEA = .030, RMR = .016) This model consisted of 3 factors : Control, Commitment, and Challenge. The results also exhibits high hardiness in undergrad students (X =2.63, S.D.= .67) considering in each category, results showed high level of hardiness in the Control (X =2.74, S.D.= .91); and the Challenge ( X =2.64, S.D. = .88); while the Commitment was found less level ( X =2.25 S.D.=0.87), Suggestions for this study was to develop the program for building hardiness of undergrad students to meet the appropriate level for everyday living.

Downloads