การพัฒนาวิธีการปรับเทียบสเกลผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตรมัธยมศึกษา ตอนปลายหรือเทียบเท่า โดยการขจัดอิทธิพลของขนาดโรงเรียน และใช้คะแนน ผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานเป็นคะแนนเชื่อมโยง

Authors

  • อรทัย เจริญสิทธิ์
  • ไพรัตน์ วงษ์นาม
  • สมพงษ์ ปั้นหุ่น

Keywords:

Calibration, Predictive Validity, O-NET, Linking Score, การปรับเทียบสเกล, ความตรงเชิงพยากรณ์, คะแนนเชื่อมโยง

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาวิธีการปรับเทียบสเกลผลการเรียนสะสมตลอดหลักสูตรมัธยม ศึกษาตอนปลาย ด้วยการขจัดอิทธิพลของขนาดโรงเรียน และใช้คะแนนผลการสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐานเป็น คะแนนเชื่อมโยง ด้วยวิธีการปรับเทียบสเกล 5 วิธี 2) เปรียบเทียบความตรงเชิงพยากรณ์ด้วยวิธีการปรับเทียบสเกล 5 วิธี กับผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับชั้นปีที่ 1 ระดับปริญญาตรี ปีการศึกษา 2556 และ 3) ศึกษาความเหมาะสมของการกำหนด สัดส่วนของคะแนนการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติในการใช้เป็นส่วนหนึ่งการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตรข้อมูลที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นเกรดเฉลี่ยสะสมระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย (GPA) คะแนนผลการสอบทางการ ศึกษาแห่งชาติขั้นพื้นฐาน ประจำปีการศึกษา 2554 และ 2555 (O-NET) และผลการเรียนเฉลี่ยสะสมระดับชั้นปีที่ 1 ระดับ ปริญญาตรี ประจำปีการศึกษา 2556 (FGPA) โดยขอความอนุเคราะห์ข้อมูลจากสมาคมอธิการบดีแห่งประเทศไทย สำนักงาน การศึกษาขั้นพื้นฐาน สำนักงานการศึกษาเอกชน และสถาบันอุดมศึกษาที่กำหนดผลการวิจัยพบว่า 1. ค่าเฉลี่ยของ GPA ของโรงเรียนแต่ละขนาดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 โดยที่ โรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษ มีค่าเฉลี่ย GPA สูงที่สุด และโรงเรียนขนาดใหญ่มีค่าเฉลี่ย GPA ต่ำที่สุด และค่าเฉลี่ยของคะแนน O-NET ของโรงเรียนแต่ละขนาดมีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยโรงเรียนขนาดใหญ่พิเศษมีค่า เฉลี่ยของคะแนน O-NET สูงที่สุด และโรงเรียนขนาดเล็กมีค่าเฉลี่ยของคะแนน O-NET ต่ำที่สุด และ GPA และคะแนนรวม O-NET และคะแนน O-NET รายวิชา มีความสัมพันธ์กันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 และความสัมพันธ์เป็นไปใน เชิงบวก2. การเปรียบเทียบความตรงเชิงพยากรณ์ พบว่า เกรดเฉลี่ยสะสมที่ได้จากการปรับเทียบสเกลด้วยวิธีกำหนด สัดส่วน มีความตรงเชิงพยากรณ์สูงที่สุด รองลงมาคือวิธีวิเคราะห์การถดถอย และอันดับสามคือวิธีอิควิเปอร์เซ็นไทล์แบบ ลูกโซ่ โดยที่การปรับเทียบสเกลทั้ง 3 วิธีมีความตรงเชิงพยากรณ์สูงกว่าเกรดเฉลี่ยสะสมที่ไม่ได้รับการปรับเทียบ ส่วนเกรด เฉลี่ยสะสมที่ได้จากวิธีวิเคราะห์ถดถอยพหุระดับ และการปรับเทียบเชิงเส้นแบบลูกโซ่ มีความตรงเชิงพยากรณ์ต่ำกว่าที่ ได้จากเกรดเฉลี่ยสะสมที่ไม่ได้รับการปรับเทียบ โดยความตรงเชิงพยากรณ์ มีค่าอยู่ระหว่าง 0.394 – 0.447 โดยมีนัย สำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .013. การกำหนดสัดส่วนของคะแนน O-NET ที่เหมาะสมในการใช้เป็นส่วนหนึ่งการสำเร็จการศึกษาตามหลักสูตร พบว่าสัดส่วนของ GPA และคะแนน O-NET ที่ 50:50 มีความตรงเชิงพยากรณ์สูงที่สุด โดยการใช้คะแนนรวมของ O-NET 8 กลุ่มสาระการเรียนรู้ และ 5 กลุ่มสาระการเรียนรู้ มีผลการวิจัยไปในทิศทางเดียวกัน           This objectives of this research are to develop the calibration methods for grade point average by adjusted school size effect using O-NET linking score, to compare the predictive validity of the calibrated score by using freshman grade point average as a criterion and to investigate the appropriate of O-NET proportion calibration as graduation requirement.          The data included high school grade point average, O-NET score in academic year 2011 and 2012 courtesy request from the Association of University President office of Thailand, and freshman grade point average in academic year 2013, courtesy request from the targeted higher education universities. The finding were as follows          1. The average of GPA of each school sizes had different significance at a 0.01 level the most was the extra-large school and the minimum was the large school. The average of O-NET score of each school sizes had different significance at a 0.01 level the most was the extra-large school and the minimum was the small school. The relationship between the GPA and O-NET score is 0.604 with significance at a 0.01 level          2. The calibrated score from the proportion calibration method was the highest predictive validity. The second was the regression calibration method, and the third was equipercentile chain calibration method. All of methods showed predictive validity higher than GPA. But the calibrated scores from multilevel regression calibration method and linear chain calibration method had predictive validity lower than GPA. The predictive validity was 0.394 to 0.447 with significance at 0.01 level.          3. The proportion of high school GPA and O-NET score for GPA is calculated by the Ministry of Education in 2012 was 50:50, the total scores obtained from 8 subjects and from 5 subjects led to the same direction.

Downloads