ผลการจัดการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับเทคนิคทีจีที (TGT) ที่มีต่อแรงจูงใจ ใฝ่สัมฤทธิ์และความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ของนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2

Authors

  • สุวารี ศรีอำไพวิวัฒน์
  • ชมนาด เชื้อสุวรรณทวี
  • สุณิสา สุมิรัตนะ

Keywords:

การเรียนรู้แบบ 4MAT, เทคนิคทีจีที (TGT), แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์, วิชาคณิตศาสตร์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อเปรียบเทียบแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์และความสามารถในการ แก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ก่อนเรียนและหลังเรียนโดยการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับเทคนิคทีจีที (TGT) และเปรียบเทียบ กับเกณฑ์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนสตรี วรนาถบางเขน เขตจตุจักร จำนวน 33 คน ซึ่งได้มา จากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้แบบแผนการวิจัยแบบ One-Group Pretest – Posttest Design เครื่องมือที่ใช้วิจัย ได้แก่ แบบวัดแรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนคณิตศาสตร์และแบบทดสอบวัดความสามารถ ในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติ ที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน คือ t-test for dependent samples และ t-test for one sampleผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้1. แรงจูงใจใฝ่สัมฤทธิ์ในการเรียนวิชาคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ โดยการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับเทคนิคทีจีที (TGT) หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .052. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและร้อยละ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .053. ความสามารถในการแก้ปัญหาทางคณิตศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 เรื่อง อัตราส่วนและ ร้อยละหลังเรียนโดยการเรียนรู้แบบ 4MAT ร่วมกับเทคนิคทีจีที (TGT) สูงกว่าเกณฑ์ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยมีคะแนนเฉลี่ย 17.90 คิดเป็นร้อยละ 74.58           This research aimed to compare the achievement motive in learning mathematics and the ability to solve mathematical problems before and after learning 4MAT learning management with TGT techniques and to compare it with the criteria. The sample group was eighth grade students in the 1st semester in 2016 in Satrivoranart Bangkhen School, Chatuchak district in the amount of 33 students in 1 classroom selected by using cluster random sampling. The trial period was 16 periods of 50 minutes. The research was One-Group Pretest – Posttest Design. The tools used for data collection were math lesson plans on the 4MAT model with TGT learning techniques. The instruments used for ratio and percentage were mathematics achievement motive and tests on the ability to solve mathematical problems. The statistics used in this study was the arithmetic mean and standard deviation. The statistics used to test the hypothesis was t-test for dependent samples and t-test for one sample.The results were concluded as follows: 1. Achievement motive in Mathematics of Eighth grade students in the aspects of ratio and percentage by learning 4MAT learning management with TGT technique, it was found to be higher after than before with the statistical significance at . 05.2. The ability to solve mathematical problems of Eighth grade students in the aspects of ratio and percentage by learning 4MAT learning management with TGT technique, it was found to be higher after than before with the statistical significance at . 05.3. The ability to solve mathematical problems of Eighth grade students in the aspects of ratio and percentage by learning 4MAT learning management with TGT techniques , it was found to be 70% after than before with the statistical significance at.05 with the average score was at 17.90, 74.58 %.

Downloads