วัฒนธรรมหลังความตายของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรี: ความเชื่อและวิถีปฏิบัติ

Authors

  • Shi Lei
  • ฉลอง ทับศรี
  • บุญเชิด หนูอิ่ม

Keywords:

funeral culture, Chinese-Thai, belief, adjustment, existing, วัฒนธรรมหลังความตาย, คนไทยเชื้อสายจีน, ความเชื่อ, การปรับตัว, การดำรงอยู่

Abstract

การวิจัยวัฒนธรรมหลังความตายของคนไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรีเป็นการศึกษาในลักษณะพื้นที่ศึกษา (Area Study) ที่ศึกษาตรวจสอบ “ฟอสซิลทางสังคม” มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาวัฒนธรรมหลังความตายของชาวจีน และ ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรี รวมทั้งศึกษา ความแตกต่างของทั้งสองวัฒนธรรม และปัจจัยที่มีอิทธิพล การปรับตัวของ ชาวไทยเชื้อสายจีนในด้านวัฒนธรรมหลังความตายในจังหวัดชลบุรี โดยใช้การวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative approach) การเก็บข้อมูลหลักในหลักปฐมภูมิ (Primary data) คือการสัมภาษณ์เชิงลึก และเก็บข้อมูลทุติยภูมิ (Secondary data) อันได้แก่การวิเคราะห์เอกสาร การวิเคราะห์จากภาพนิ่งและเอกสารวิจัยต่างๆ ผู้วิจัยดำเนินการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพ ด้วยการให้รหัสข้อมูล จัดกลุ่มประเด็น และสรุปผลการวิจัยอธิบายถึงภาพรวมของวัฒนธรรมหลังความตายของชาวจีนจาก 6 ด้าน ได้แก่ 1)รูปแบบการฝังศพ 2) รูปแบบการปลงศพ 3) รูปแบบสุสาน 4) พิธีกรรมงานศพ 5) การเซ่นไหว้ และ 6)คุณค่าต่อสังคม เนื่องจากสภาพแวดล้อม ทางธรรมชาติ รูปแบบสังคม ความเชื่อเรื่องศาสนา และความเคยชินในการใช้ชีวิต ที่ประชาชนแต่ละชนเผ่า แต่ละพื้นที่ของ จีนอาศัยอยู่ ล้วนมีความแตกต่างกัน ด้วยเหตุนี้ วัฒนธรรมหลังความตายของชาวจีนได้แสดงให้เห็นความหลากหลายอุดม สมบูรณ์มาก ขณะเดียวกัน วัฒนธรรมหลังความตายของชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรี ได้รับอิทธิพลจากวัฒนธรรม ความเชื่อต่างๆ ของจีน เช่น วัฒนธรรมด้านความกตัญญู ความเชื่อเรื่องบรรพบุรุษ ความเชื่อเรื่องข้อห้าม ความเชื่อเกี่ยว กับโลกของคนตาย เป็นต้น รวมทั้งได้รับอิทธิพลจากสิ่งแวดล้อม วัฒนธรรมทางสังคมไทย โดยเฉพาะความเชื่อเรื่องศาสนา พุทธในท้องถิ่น จากอิทธิพลของ 2 ปัจจัยดังกล่าว ทำให้ชาวไทยเชื้อสายจีนในจังหวัดชลบุรี มีวัฒนธรรมหลังความตายที่ เป็นเอกลักษณ์ งานวิจัยอธิบาย 5 ขั้นตอนไว้อย่างละเอียด ได้แก่ 1) การจองฮวงซุ้ย เตรียมเสื้อและโลงศพ 2) เพิ่งเสียชีวิต (เพิ่งเสียชีวิต-เคลื่อนศพไปยังที่ตั้ง) 3) ขั้นตอนการกระทำศพ (ตั้งฉาก-พิธีกงเต๊ก) 4) ขั้นตอนออกศพ 5) ขั้นตอนการเซ่นไหว้ และการไว้ทุกข์นอกจากนี้ วัฒนธรรมหลังความตายของชาวไทยเชื้อสายจีน ยังมีคุณค่าต่อสังคมในด้านต่างๆ ได้แก่ 1) สามารถ บรรเทาความรู้สึกและปลอบประโลม 2) กระชับความปรองดอง ลดความขัดแย้ง และเสริมสร้างความสามัคคีภายใน ครอบครัวและวงศ์ตระกูลได้ 3) การสืบทอดวัฒนธรรมด้านความกตัญญู และ 4) ช่วยเหลือผู้ที่ต้องการความช่วยเหลือ ส่วนปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการดำรงอยู่ของวัฒนธรรมหลังความตาย สรุปได้ว่า 1) การพัฒนาด้านเศรษฐกิจและเทคโนโลยี สมัยใหม่ 2) อิทธิพลของการศึกษาที่สูงขึ้น ทำให้ความเชื่อและค่านิยมเกิดการเปลี่ยนแปลง 3) กางแต่งงานกับคนท้องถิ่น จึงทำให้วัฒนธรรมเกิดการผสมผสาน สุดท้ายเรื่องการปรับตัวของชาวไทยเชื้อสายจีน สรุปได้ว่า 1) การปรับตัวด้านอาหาร สำหรับเซ่นไหว้ 2) การปรับตัวด้านพิธีกรรม 3) การปรับตัวด้านสถานที่จัดงาน 4) การปรับตัวด้านดนตรีประกอบพิธีกงเต๊ก และ 5) การปรับทางด้านผู้นำพิธีกรรม The Funeral Culture of Chinese-Thai in Chonburi was an Area Study in order to investigate “Social Fossil”. The purpose of this research was to study the funeral culture of Chinese and Chinese-Thai in Chonburi, including study factors influencing towards adjusting of the funeral culture of Chinese-Thai in Chonburi. This study used a qualitative research design. The researcher analyzed the data qualitatively through coding categorizing and theming.The results of the study explained the overall of the funeral culture of Chinese-Thai into six aspects; 1) Burial 2) Cremation 3) Cemetery 4) Funeral Ritual 5) Oblation and 6) Social Value. According to the differences of natural environment, social pattern, religion belief and familiarity of Chinese and tribes in each area, there were many varieties of the funeral culture. Meanwhile, the funeral culture of Chinese-Thai in Chonburi were influenced by cultural believe of Chinese such as belies of gratitude, ancestor, restricted rules, and place of death including influenced by environment, Thai culture especially local religion belief. From the above of these two influences resulted the identity of the funeral culture of Chinese-Thai in Chonburi. This research explained the 5 procedures 1) preparing the funeral, clothes and coffin 2) moving the dead body 3) Chinese funeral process (Gohng-Dtek) 4) Out of mourning and 5) morning and ritual respectMoreover, the funeral culture of Chinese-Thai reflected social values; 1) console the sorrow 2) create utility, reduce conflict and establish good family relationship 3) carry on gratitude culture 4) support the people. Factors influenced the funeral culture could be summarized as follow; 1) the development of economic and technology 2) higher education - causing the changed of values and beliefs 3) cross culture of married. The adaptation of Chinese-Thai were 1) food for ritual 2) ritual ceremony 3) ritual place 4) ritual of music and 5) ritual leader

Downloads